วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

ตำราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย

ตำราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย
น.อ. จอม รุ่งสว่าง
คำนำของผู้แปล
SUNTZU เป็นชื่อตำราพิชัยสงคราม ๑๓ บทไม้ตายที่เก่าแก่ที่สุด ๑ ในหนังสือว่าด้วยการทหารของจีนโบราณ ๗ เล่ม เสียงที่ชาวไทยอ่านว่า “ ซุนซู๊ “ เป็นเสียงอ่านตามที่ชาวตะวันตกอ่าน มิใช่เสียงที่ชาวจีนอ่านออกเสียง คาดว่าไม่ ซุนวู ( ๕๑๔–๔๙๗ ปีก่อน ค.ศ.) หรือไม่ก็ ซุนปิง ( ๓๔๐ ปีก่อน ค.ศ.) เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น โดยใช้สำนวนจีนที่คมคาย เข้าใจง่าย ประกอบกับใช้แนวคิดของชาวตะวันออกล้วนๆ และเป็นแม่บททางความคิดของทั้งลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากถอดความตรงตัวแล้ว อาจแปลได้ว่า “ ปราชญ์แซ่ซุน”
มีการอ้างถึง SUNTZU บ่อยครั้งในระหว่างการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสงครามของสถาบันการศึกษาวิชาชีพทางทหาร แต่ความจริงแล้ว ทหารไทยน้อยคนนักที่เคยได้อ่านฉบับจริงจนจบเล่ม หรือไม่ก็เพียงเคยได้อ่านจากเอกสารเรื่องอื่นๆที่ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจาก SUNTZU ที่ถอดความวางขายในตลาดหนังสือทั่วไป มีการสอดแทรกความเห็นส่วนตัวที่ไม่ถูกต้องไว้มาก กับบางส่วนถูกถอดความจากเอกสารภาษาอังกฤษซึ่งผู้แปลไว้ก่อนเป็นชาวตะวันตก จึงไม่สามารถทำความเข้าใจกับทัศนะของชาวตะวันออกได้ ทำให้เกิดอุปสรรคในการค้นคว้า และอ่านไม่รู้เรื่อง
เอกสารฉบับนี้ ถอดความอย่างตรงไปตรงมา มิได้สอดแทรกความเห็นส่วนตัวใดใด จาก อักษรจีนโบราณ , อักษรญี่ปุ่นโบราณ และการถอดความเป็นภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันของหนังสือชื่อ SUNTZU ของนาย KANETANI ซึ่งจัดพิมพ์ และแก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อปี ๑๙๘๐ โดยใช้เป็นตำราเรียนของนักเรียนนายร้อยรวมประเทศญี่ปุ่น ชั้นปีที่ ๒ ที่ซึ่งผู้แปล น.อ. จอม รุ่งสว่าง ได้มีโอกาสศึกษาอย่างจริงจังเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วเหตุผลประการหนึ่งที่สถาบันทหารของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องเพราะ พวกเขาถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานทางทหารที่ต้องศึกษาตั้งแต่วัยเยาว์ ดังนั้นทหารญี่ปุ่นจะมีตำรานี้ครอบครองเป็นส่วนตัวทุกคน ในขณะที่ทหารไทยมองว่า SUNTZU เป็นเรื่องในระดับยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต้องรู้เพียงเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันในเรื่องแนวคิดด้านการศึกษาระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับประเทศไทยได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม SUNTZU เป็นตำราพิชัยสงครามที่สะท้อนปรัชญาจิตนิยมสุดขั้ว และอธิบายด้วยสำนวนจีนที่กระทัดรัด คมคาย ใช้ตรรกะบวกลบเชิงเส้นแบบธรรมดาๆ ทำให้อ่าน และทำความเข้าใจได้ง่าย ผู้แปลหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักการอ่านทุกท่าน เพราะนอกจาก มันจะสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิต และการทำงานประจำวันแล้ว เนื้อหาสาระของ SUNTZU ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าอัดแน่นไปด้วย “ FUNDAMENTAL DOCTRINE ” ที่จะทำให้ผู้ที่อ่านได้แตกฉาน สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสงครามได้เป็นอย่างดี ……
น.อ. จอม รุ่งสว่าง
รอง ผอ.กกศ.วทอ.สอส.บศอ./ ผู้แปล
ตำราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย
บทที่ ๑ แผนศึก
บทที่ ๒ เตรียมศึก
บทที่ ๓ นโยบายศึก
บทที่ ๔ ศักย์สงคราม
บทที่ ๕ จลน์สงคราม
บทที่ ๖ หลอกล่อ
บทที่ ๗ การแข่งขัน
บทที่ ๘ เก้าเหตุการณ์
บทที่ ๙ เคลื่อนกำลัง
บทที่ ๑๐ ภูมิประเทศ
บทที่ ๑๑ เก้าสนามรบ
บทที่ ๑๒ ไฟ
บทที่ ๑๓ สายลับ
บทที่ ๑ แผนศึก
๑. SUNTZU กล่าวไว้
การสงครามเป็นงานยิ่งใหญ่ มีความสำคัญต่อชาติใหญ่หลวง ชี้ขาดความเป็นตายคนในชาติเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ จึงต้องคิดอ่านพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างถึงที่สุดฉะนั้นจะต้องคิดคำนึงถึงเรื่องสำคัญ ๕ ประการ และพิจารณาเปรียบเทียบ ๗ ประการ เพื่อเข้าใจสถานการณ์ได้ถ่องแท้ ........ ๕ ประการดังกล่าว ได้แก่ :-
- หนทาง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแต่ละชั้นว่าสามารถอยู่ร่วมกัน ตายร่วมกันได้เพียงใด ( การเมืองภายใน )
- สภาพแวดล้อม เงื่อนไขเอื้ออำนวยของจังหวะเวลา และภูมิอากาศ
- สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
- แม่ทัพนายกอง ลักษณะคน
- กฎ ระเบียบ วินัย
ปกติการคิดคำนึง และศึกษาเรื่องราว ๕ ประการ แม่ทัพนายกองทุกคนเข้าใจดีอยู่แล้ว
แต่ผู้เข้าใจลึกซึ้งกว่าเป็นผู้ชนะ ผู้เข้าใจลึกซึ้งน้อยกว่าเป็นผู้ไม่อาจชนะ
ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งกว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาเปรียบเทียบอีก ๗ ประการ ดังนี้ :-
- ผู้นำประเทศฝ่ายใดกำจิตใจคนในชาติมากกว่ากัน
- แม่ทัพนายกองฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน
- เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ฝ่ายใดได้เปรียบ
- ฝ่ายใดรักษากฎ ระเบียบ วินัย เคร่งครัด กว่ากัน
- กองทัพฝ่ายใดเข้มแข็งกว่ากัน
- ทหารหาญฝ่ายใดได้รับการฝึกมามากกว่ากัน
- การให้รางวัล และการลงโทษ ฝ่ายใดมีความยุติธรรมกว่ากัน
สำหรับ SUNTZU แล้ว จากที่กล่าวมา แม้ยังมิได้รบก็รู้แพ้ชนะกระจ่างแจ้งแล้ว
๒. ในกรณีแม่ทัพนายกองปฏิบัติตามการคิดคำนวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะได้รับชัยชนะแน่นอน ต้องเอาคนคนนี้มาใช้งาน
ในกรณีแม่ทัพนายกองมิได้ปฏิบัติตามการคิดคำนวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะประสบความพ่ายแพ้แน่นอน ต้องปลดคนคนนี้ทิ้งเสีย
ถ้าปฏิบัติตาม และเข้าใจความคิดอ่านนี้ การเตรียมการก่อนออกศึกจะเกิด “ พลังอำนาจ ” ซึ่งจะช่วยกองทัพในการศึก พลังอำนาจที่กล่าวช่วยให้ฝ่ายเราสามารถใช้ความอ่อนตัวบังคับสถานการณ์ได้เปรียบให้ตกอยู่กับฝ่ายเรานั่นเอง ( พลังอำนาจ ...... ศักย์สงคราม )
๓. การศึกนั้นเป็นการเคลื่อนไหวด้วยเล่ห์เหลี่ยม หมายถึงการกระทำที่กลับกันกับการกระทำปกติ ฉะนั้น เมื่อเข้มแข็งต้องให้เห็นว่าอ่อนแอ เมื่อกล้าต้องให้เห็นว่ากลัว เมื่อใกล้ให้ดูไกล เมื่อไกลให้ดูใกล้ เมื่อข้าศึกต้องการประโยชน์เอาประโยชน์เข้าล่อ เมื่อข้าศึกวุ่นวายสับสนให้ฉวยโอกาสข้าศึกเหนียวแน่นให้ป้องกัน ข้าศึกเข้มแข็งให้ถอยออกมา เมื่อข้าศึกโกรธให้ยั่วยุ ข้าศึกสบายทำให้พวกเขาเหนื่อยล้า เมื่อข้าศึกกลมเกลียวทำให้แตกแยก โจมตีข้าศึกในที่ซึ่งไม่มีการป้องกัน รุกเข้าไปในที่ซึ่งข้าศึกไม่คาดคิด เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก ก่อนรบไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์เช่นไร ......
๔. ปกติการคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วชนะ หมายถึงผลจากการคิดคำนวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ๗ ประการ แล้วมีทางชนะมากกว่าทางแพ้นั่นเอง แต่หากคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วไม่อาจชนะก็หมายถึงผลจากการคิดคำนวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ ๗ ประการแล้วมีทางชนะน้อยนั่นเอง ดังนั้น จากการคิดคำนวณก่อนออกศึก ถ้ามีทางชนะมากจะชนะ ถ้ามีทางชนะน้อยกว่าก็จะมิอาจชนะ สำหรับข้าพเจ้า เพียงสังเกตดังกล่าว ก็รู้แพ้ชนะชัดเจนแล้ว
.......................................................................
บทที่ ๒ เตรียมศึก
๑. SUNTZU กล่าวไว้
กฎของสงครามนั้น การทหารเป็นความสิ้นเปลืองอย่างใหญ่หลวง กว่าจะสามารถใช้กำลังเคลื่อนกำลังทหารได้นั้น แม้เพียงวันเดียวก็ยังต้องใช้ทรัพย์สินมหาศาลการทำสงครามยืดเยื้อทหารจะอ่อนล้า ความห้าวหาญจะลดลง การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นข้าศึกเป็นเวลานานกำลังรบจะหมดไป เพราะฉะนั้น การใช้กำลังทหารเป็นเวลานานเศรษฐกิจของชาติจะย่อยยับ
ถ้าทหารหาญของชาติเหนื่อยอ่อน ขาดความห้าวหาญ และถ้าเศรษฐกิจของชาติย่อยยับแล้วต่างชาติจะยกทัพมารบกับเราแน่นอน ซึ่งแม้จะมีผู้มีความสามารถสูงเพียงไรก็ยากที่จะต่อต้านกับทัพต่างชาติที่ยกเข้ามาได้ดังนั้น “ การสงครามจะต้องรวดเร็ว และเฉียบพลัน ” ตัวอย่างดีของสงครามยืดเยื้อในประวัติศาสตร์ไม่มีประเทศใดเคยได้ประโยชน์จากสงครามยืดเยื้อไม่เคยปรากฏ ...................... ดั่งที่เคยกล่าวแล้ว
ผู้ที่ไม่เข้าใจความสูญเสียของสงครามอย่างเพียงพอ
ย่อมไม่สามารถเข้าใจผลประโยชน์ที่ได้รับจากสงครามอย่างเพียงพอเช่นกัน
๒. นักรบที่ชำนาญศึกจะไม่เกณฑ์ประชาชนมารบหลายครั้ง จะไม่ขนเสบียงอาหารจากชาติตนหลายครั้ง แม้ใช้อาวุธจากชาติตน แต่เสบียงอาหารเอาจากดินแดนข้าศึก
การที่ประเทศชาติต้องยากจนลงเพราะกองทัพก็เนื่องจากการขนส่งเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล เพราะถ้ากองทัพต้องขนเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล ประชาชนจะยากจนลง ราคาสินค้าบริเวณสนามรบจะสูงขึ้น เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น ทรัพย์สินของประชาชาก็ยิ่งหมดลง เมื่อทรัพย์สินของประชาชนหมดลง การจะระดมเสบียงอาหารมาให้ทหาร ก็จะทำได้ยากลำบาก กำลังรบของกองทัพก็จะค่อยๆ
หมดลง ทรัพย์สินของประชาชนจาก ๑๐ จะเหลือ ๗ ข้าวของของรัฐที่เสียหายไปกับสงครามจาก ๑๐จะเหลือ ๖ เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่มีความสามารถจะแย่งเสบียงอาหาร และข้าวของของข้าศึกมาใช้การใช้ข้าวของของข้าศึก ๑ ส่วน ได้ประโยชน์เหมือนใช้ของของเรา ๒๐ ส่วน

๓. การที่ทหารฝ่ายเราสังหารทหารฝ่ายข้าศึกได้ก็เนื่องจากกำลังใจของทหาร การยึดเอาสิ่งของของข้าศึกมา ก็เนื่องจากผลประโยชน์นั่นเองฉะนั้น การให้รางวัลแก่ทหารที่ยึดเอาสิ่งของจากข้าศึกได้ และลงโทษทหารที่ถูกข้าศึกยึดสิ่งของไป เป็นการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในกองทัพ
๔. ดังกล่าวข้างต้น
การสงครามนั้นชัยชนะเป็นอันดับหนึ่ง จะยืดเยื้อไม่ได้ แม่ทัพที่ระมัดระวังผลได้เสียของสงครามรอบคอบ คือผู้กำชะตากรรมของประชาชนไว้ เป็นอุปราชชี้ขาดความอยู่รอดของประเทศชาติ ........................
...................................................................
บทที่ ๓ นโยบายศึก
๑. SUNTZU กล่าวไว้
กฎของสงครามโดยทั่วไป
สยบประเทศข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก
ใช้กำลังทางทหารเข้าตีประเทศข้าศึกแตกจึงสยบประเทศข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง
สยบกองทัพข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก
ใช้กำลังทางทหารเข้าตีกองทัพข้าศึกแตกจึงสยบกองทัพข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง
สยบหน่วยทหารข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก
ใช้กำลังทางทหารเข้าตีหน่วยทหารข้าศึกแตกจึงสยบหน่วยทหารข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง
“ รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งยังมิใช่ยอด
สยบข้าศึกได้ไม่ต้องรบ เป็นยอดนักรบ ”
๒. เพราะฉะนั้น
สุดยอดของการสงครามก็คือ เข้าโจมตีแผนลับข้าศึกให้แตก จากนั้นตีความสามัคคีข้าศึก ตีสัมพันธไมตรีของกลุ่มพันธมิตรข้าศึกให้แตก สุดท้ายหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจึงใช้กำลังทางทหารเข้าตีกำลังทหารข้าศึก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก การเข้าตีดังกล่าวจะเป็นเฉพาะเมื่อไม่มีหนทางอื่นแล้ว และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น
การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน และต้องพร้อมจริงๆ จึงทำได้ ซึ่งในระหว่างเตรียมการหากแม่ทัพนายกองไม่สามารถระงับความเกรียวกราดได้ยกกำลังเข้าทำการรบแตกหักก่อนที่การเตรียมการจะพร้อม ทหาร ๑ ใน ๓ จะต้องตาย แม้กระนั้นป้อมปราการที่มั่นของข้าศึกก็จะยังไม่แตก นี้คือผลเสียของการโจมตีป้อมปราการที่มั่นของข้าศึก
นักรบผู้ชำนาญมิได้ใช้การต่อสู้เพื่อสยบข้าศึก ป้อมปราการที่มั่นข้าศึกแตกก็มิใช่ด้วยการโจมตีตรงหน้า ประเทศข้าศึกต้องพินาศลงก็มิใช่ด้วยศึกสงครามยืดเยื้อ ใช้วิธีชนะโลก ชนะโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ด้วยเหตุนี้ ทหารหาญก็ไม่เหนื่อยอ่อน ผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมเป็นผลประโยชน์สูงสุด
“ นี่คือกฎของนโยบายในการทำศึกสงคราม ”
๓. กฎของสงครามโดยทั่วไป
เมื่อมีกำลัง ๑๐ เท่าเข้าโอบล้อม เมื่อมีกำลัง ๕ เท่าเปิดเกมรุก เมื่อเท่ากันให้สู้ ถ้าน้อยกว่าให้ถอย ถ้ากำลังปะทะกันไม่ได้ให้หลบซ่อน โดยปกติกำลังน้อยกว่าปะทะตรงหน้ากับกำลังที่มากกว่าย่อมทำไม่ได้เป็นทางปกติ กำลังที่น้อยนิดคิดแต่จะใช้ความห้าวหาญ รังแต่จะถูกจับเป็นเชลยของกำลังที่มากกว่าเท่านั้น
๔. โดยทั่วไป แม่ทัพมีหน้าที่ช่วยเหลือชาติ ถ้าหน้าที่นั้นสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำประเทศ ชาตินั้นต้องเข้มแข็งแน่นอน ถ้าหน้าที่นั้นขัดแย้งกับผู้นำประเทศ ชาตินั้นต้องอ่อนแอแน่นอน
ฉะนั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการศึกสำหรับผู้นำประเทศมี ๓ ประการ ได้แก่ :-
- ไม่รู้ว่าไม่ควรใช้กำลังทหาร สั่งให้ใช้กำลังทหาร
ไม่รู้ว่าไม่ควรถอย สั่งให้ถอย
- ไม่รู้เรื่องภายในกองทัพ แต่เข้ามาปกครองกองทัพร่วมกับแม่ทัพ
- ไม่เข้าใจวิธีใช้กำลังทหาร แต่เข้ามาบังคับบัญชาทหาร
เมื่อใดที่ทหารอยู่ในความหลง ความงงงวยแปลกใจสงสัย ต่างชาติจะยกทัพเข้ามาและชัยชนะของกองทัพที่สับสนก็จะจากหายไป
๕. ฉะนั้น มี ๕ สิ่งที่ต้องรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับชัยชนะ ได้แก่ :-
- เมื่อไรควรรบเมื่อไรไม่ควรรบ ระมัดระวังผลได้ผลเสียรอบคอบ .... ชนะ
- เข้าใจการใช้กำลังใหญ่ กำลังเล็ก นอกแบบในแบบ .... ชนะ
- ประสานจิตใจคนทุกชั้นได้ .... ชนะ
- เตรียมการดีปะทะที่ประมาท .... ชนะ
- แม่ทัพนายกองมีความสามารถ ผู้นำประเทศไม่แทรกแซงกิจการภายในกองทัพ .... ชนะ
๕ ประการนี้เป็นวิธีเข้าใจชัยชนะ ดังนั้น
“ เมื่อ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งปราศจากอันตรายรู้สถานการณ์ฝ่ายเขา ไม่รู้ฝ่ายเรา แพ้บ้างชนะบ้าง
ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา กล่าวได้ว่ารบทุกครั้งรังแต่จะมีอันตราย ”
.............................................................
บทที่ ๔ ศักย์สงคราม
๑. SUNTZU กล่าวไว้
ยอดนักรบ ตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะเขาได้ รอคอยโอกาสซึ่งใครก็ได้อาจชนะต่อข้าศึกรูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้อยู่ที่ฝ่ายเรา รูปแบบที่ใครก็ได้อาจสามารถชนะได้อยู่ที่ฝ่ายเขาแม้จะเป็นยอดนักรบที่สามารถตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะได้ ก็ไม่สามารถทำให้ข้าศึกตั้งอยู่ในที่ซึ่งใครใครก็อาจชนะได้จึงจำเป็นต้องรู้จักอดทนรอคอย รูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้นั้น เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการตั้งรับ รูปแบบที่ใครก็อาจชนะได้ เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการรุก รับเนื่องจากกำลังรบไม่เพียงพอ และรุกเนื่องจากกำลังรบมีอยู่เพียงพอ นักรบที่ตั้งรับเก่งเหมือนซ่อนอยู่ใต้ของใต้แผ่นดิน นักรบที่รุกเก่งเหมือนเคลื่อนไหวอยู่เหนือของเหนือฟ้า ฉะนั้นจึงอยู่ในที่ปลอดภัย และสามารถเอาชัยเด็ดขาดได้สำเร็จ
๒. ระดับชัยชนะที่คนทั่วไปมองออกยังมิใช่ยอด รบกันแล้วได้ชัยชนะคนทั่วโลกแซ่ซ้องสรรเสริญยังมิใช่เยี่ยม หยิบถือเส้นผมได้ว่ามีกำลังมิได้ มองดวงอาทิตย์จะบอกว่าตาดีไม่ได้ ฟังเสียงฟ้าร้องว่าหูดีมิได้ สมัยก่อนยอดนักรบคนทั่วไปมองไม่ออก เขาจะเข้ายึดโอกาสชนะง่ายแล้วชนะ เพราะฉะนั้น การต่อสู้ของยอดนักรบนั้น มิได้มีชื่อเสียง มิได้ใช้ความรู้ความสามารถหรือความมานะพยายามพิเศษพิศดารและกล้าหาญใดใด เนื่องเพราะเขาจะทำสงครามที่ชนะแน่นอนเท่านั้น สงครามที่ชนะแน่นอนก็คือเข้าตีข้าศึกที่แพ้แน่นอนแล้วชนะนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ยอดนักรบจะตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะได้รอคอยโอกาสชนะ และไม่ปล่อยให้โอกาสชนะโอกาสแรกหลุดลอยไปนั่นเอง
“ กองทัพที่มีชัย คือกองทัพที่ก่อนออกศึกได้รับชัยชนะแล้วจึงรบ
กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพที่ออกรบแล้วจึงแสวงหาชัยชนะนั่นเอง ”
๓. ยอดนักรบย่อมสามารถทำให้จิตใจคนทุกชั้นเป็นหนึ่งได้ สามารถจัดระบบ รักษาวินัย และกฎระเบียบได้ ฉะนั้นจึงสามารถตัดสินแพ้ชนะได้อย่างอิสระ
๔. ปัญหาในการจัดการทางทหารก่อนรบจะเกิดขึ้น ๕ ประการที่ต้องขบคิด
- ปัญหาขอบเขตของการรบ
- ปัญหาปริมาณสิ่งของที่ต้องทุ่มเทในการรบ
- ปัญหาจำนวนทหารที่จะนำมาใช้ในการรบ
- ปัญหาขีดความสามรถของหน่วยกำลัง จะมีมากน้อยขนาดใด
- ปัญหาของชัยชนะ
กองทัพที่ได้ชัยต้องผ่านขั้นตอนดังกล่าว และมีความได้เปรียบ กองทัพที่พ่ายแพ้คือกองทัพที่เสียเปรียบจากปัญหาดังกล่าวนั่นเอง ....
๕. ผู้ชนะซึ่งทำให้ผู้คนในชาติร่วมกันต่อสู้ได้ เหมือนกับแอ่งน้ำในหุบเขาซึ่งเกิดจากสายน้ำเล็กๆ หลายพันสายไหลมารวมกัน ซึ่งหากแอ่งน้ำนั้นตกลงมาเป็นน้ำตกก็จะมีพลังมหาศาลพลังที่ซ่อนอยู่ในแอ่งน้ำกลางหุบเขานี้เปรียบได้กับ “ ศักย์สงคราม ” และพลังของน้ำที่กระทบเบื้องล่างเปรียบได้กับ “ จลน์สงคราม ” ฉันใดฉันนั้น ......
................................................................
บทที่ ๕ จลน์สงคราม
๑. SUNTZU กล่าวไว้
การปกครองกำลังขนาดใหญ่จะทำได้เนื่องจากการจัดกำลังขนาดเล็กให้เป็นหมวดหมู่นั่นเองการจะบังคับบัญชากำลังขนาดใหญ่ได้ต้องจัดเตรียมเครื่องมือสื่อสาร ธงทิว กลอง ฆ้อง เพื่อให้กำลังขนาดเล็กเข้าใจคำสั่งจึงจะทำได้
การที่กำลังขนาดใหญ่สามารถต้านทานกำลังของข้าศึกได้ดี ก็คือใช้ความอ่อนตัว แยกแยะการใช้กำลังอย่างรวดเร็ว อย่างเข้มแข็ง ใช้กำลังทั้งนอกแบบในแบบอย่างเหมาะสมในการรบ และการต่อสู้ จะชนะข้าศึกได้เหมือนหินกระแทกไข่แตกได้เสมอๆ ก็เนื่องจากใช้การหลอกล่อข้าศึกนั่นเอง .....
๒. การต่อสู้โดยทั่วไป ตั้งมั่นในที่ไม่มีทางแพ้เข้มแข็งดุจหินใหญ่เหมือนสู้กันตามแบบ จู่โจมข้าศึกเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึกเหมือนสู้กันนอกแบบ เช่นเดียวกับฤดูกาลที่ไม่จบสิ้น จากมืดกลับสว่าง จากสว่างกลับมืด เสียงมี ๗ เสียงแต่ผสมกันแล้วฟังได้ไม่หมด สี ๓ สีผสมเกิดสีนับไม่ถ้วน รสชาติ ๕ รสผสมกันเกิดรสชาติที่ลิ้มลองไม่หมดเช่นกันการใช้กำลังก็มีนอกแบบในแบบแต่ผสมกันแล้วเกิดรูปแบบนับไม่ถ้วน ต่างเกิดจากกันและกันระหว่างตามแบบจะมีนอกแบบ ระหว่างนอกแบบจะมีตามแบบ เรียกว่านอกแบบเกิดจากตามแบบและตามแบบเกิดจากนอกแบบ หมุนเวียนเปลี่ยนไปหาจุดสิ้นสุดมิได้ ใครจะรู้ละว่าจะเป็นแบบใด ....
๓. ยอดนักรบจะเพิ่มศักย์สงครามทำให้จลน์สงครามเพิ่ม จลน์สงครามนั้นเหมือนลูกศรที่วิ่งไปศักย์สงครามนั้นก็เหมือนขณะง้างคันศรนั่นเอง .....
๔. ความวุ่นวายเกิดจากความมีระเบียบ ความขลาดเกิดจากความกล้า ความอ่อนแอเกิดจากความเข้มแข็ง แต่ละสิ่งเคลื่อนไหวสู่กันและกันง่ายดายนัก ......
จะวุ่นวายสับสนหรือมีระเบียบขึ้นอยู่กับปัญหาการจัดหน่วยทหาร
จะกลัวหรือกล้าหาญขึ้นอยู่กับปัญหาของจลน์สงคราม
จะอ่อนแอหรือเข้มแข็งขึ้นอยู่กับปัญหาของศักย์สงคราม
๓ สิ่งระมัดระวังใส่ใจ ย่อมจะได้ ระเบียบ ความกล้าหาญ และความเข้มแข็ง
๕. เพราะฉะนั้น การจะล่อข้าศึกให้ออกมานั้น
เมื่อชี้ให้เห็นรูปแบบการวางกำลังให้ข้าศึกรู้ ข้าศึกต้องมาแน่นอน เมื่อชี้ให้เห็นว่าข้าศึกจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ข้าศึกต้องออกมาเอาแน่นอน นั่นคือการใช้ประโยชน์ล่อข้าศึกให้ออกมา
จงเข้าปะทะข้าศึกนั้นด้วยการดัดหลังคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
๖. ยอดนักรบเมื่อต้องการชัยชนะจากจลน์สงครามที่มีอยู่มิได้พึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษแต่พึ่งพาพลังอำนาจของจลน์สงคราม ปล่อยให้ผู้คนต่างๆ เป็นไปตามจลน์สงครามนั้น เหมือนกับสิ่งของท่อนไม้รูปแบบต่าง ๆ จะอยู่นิ่งบนพื้นราบ แต่เมื่อเอียงพื้นราบขึ้นสิ่งของเหล่านั้นจะกลิ้งไปตามจลน์สงครามนั่นเอง ฉะนั้นยอดนักรบจะให้ผู้คนเข้าต่อสู้เหมือนสิ่งของท่อนไม้กลิ้งจากที่สูง
นี่แหละที่เรียกว่า จลน์สงคราม
.........................................................
บทที่ ๖ หลอกล่อ
๑. SUNTZU กล่าวไว้
กองทัพที่มาถึงสนามรบก่อน และรอคอยข้าศึกเป็นฝ่ายที่สบาย
กองทัพที่มาถึงสนามรบทีหลัง และเข้าต่อสู้เป็นฝ่ายที่ลำบาก และทรมาน
“ ยอดนักรบนั้นฝ่ายตนจะต้องเป็นฝ่ายควบคุมการรบ
หมายถึง ทำให้ข้าศึกเป็นดั่งเช่นตนคิด และไม่เป็นอย่างที่ข้าศึกคิด ”
การที่ฝ่ายเราจะทำให้ข้าศึกออกมาได้นั้น ชี้ผลประโยชน์เข้าล่อ
การที่ฝ่ายเราจะทำให้ข้าศึกไม่เข้ามาได้นั้น ชี้ถึงผลเสียนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้จึงสามารถทำให้ข้าศึกที่สุขสบาย เหนื่อยล้าได้ ทำให้ข้าศึกที่ท้องอิ่ม หิวโหยได้การหลอกล่อข้าศึกที่อยู่นิ่งๆ ให้เคลื่อนไหว จึงทำได้นั่นเอง .......
๒. โจมตีสถานที่ที่ข้าศึกต้องออกมาอย่างแน่นอน รุกอย่างรวดเร็วเข้าไปในที่ที่ข้าศึกคาดไม่ถึงการเคลื่อนกำลังเข้าไปในสถานที่ไกลโดยไม่เหนื่อย ก็คือเข้าไปในเส้นทางที่ไม่มีการต้านทานจากข้าศึกหลังจากเข้าโจมตีแล้วสามารถยึดได้ ก็คือการเข้าโจมตีที่ไม่มีการป้องกันจากข้าศึก หลังจากวางกำลังป้องกันแล้วเข้มแข็งแน่นอน ก็คือการรักษาที่มั่นที่ข้าศึกจะไม่เข้าตี
นักรบที่รุกเก่ง ข้าศึกไม่รู้ที่ป้องกัน
นักรบที่รับเก่ง ข้าศึกไม่รู้ที่จะเข้าตี
แยบคายลึกซึ้ง สุดยอดต้องปราศจากรูป
ลี้ลับมหัศจรรย์ สุดยอดต้องปราศจากเสียง
จึงเป็นอุปราชชี้ขาดชะตากรรมของข้าศึกได้
๓. รุกเข้าไปแล้วไม่สามารถป้องกันได้เพราะว่ารุกเข้าไปในช่องว่างของข้าศึก ถอยออกมาแล้วตามไม่ทันเพราะว่ามิได้ติดตามไปอย่างรวดเร็ว
ฉะนั้น เมื่อฝ่ายเราต้องการรบ แม้ข้าศึกจะอยู่ในที่มั่นเข้มแข็งไม่ยอมออกรบ แต่การที่ข้าศึกจะอย่างไรก็ต้องออกมา ก็เพราะว่าฝ่ายเราโจมตีในที่ที่ข้าศึกจะต้องยกกำลังมาช่วยนั่นเอง
เมื่อเราไม่ต้องการรบ แม้จะมิได้วางกำลังป้องกันใดใด แต่ข้าศึกอย่างไรก็จะไม่ออกมาก็เพราะว่าสถานที่นั้นถูกลวงนั่นเอง
๔. เพราะฉะนั้น ถ้าเราลวงข้าศึกให้ทราบชัดเกี่ยวกับกำลังฝ่ายเรา แต่เราซ่อนกำลังจริงไว้เมื่อข้าศึกแยกกำลังออกไป และเรารวมกำลังไว้ ถ้าเรารวมกำลังเป็นหนึ่ง และข้าศึกแยกกำลังออกเป็น ๑๐ ส่วน ผลการปะทะกันฝ่ายเราจะมีทหารมากกว่า ๑๐ เท่า เราจะเป็นฝ่ายมีกำลังมาก ข้าศึกจะเป็นฝ่ายมีกำลังน้อย ถ้าเราสามารถใช้กำลังใหญ่เข้าปะทะกับกำลังน้อยของข้าศึก ข้าศึกก็จะเป็นฝ่ายที่อ่อนกว่าเราเสมอ เมื่อข้าศึกไม่ทราบที่เราจะรบ ไม่ทราบเวลาที่เราจะรบ ข้าศึกจะกระจายกำลังออกป้องกัน เมื่อทำเช่นนั้น การปะทะกับฝ่ายเรา ข้าศึกจะเป็นฝ่ายน้อยกว่าเราโดยตลอดดังนั้น เมื่อกำลังใหญ่อยู่หน้า กองหลังจะเป็นกำลังน้อย เมื่อกองหลังกำลังมาก กองหน้ากำลังน้อย กำลังหลักด้านขวากำลังน้อยด้านซ้าย กำลังหลักด้านซ้ายกำลังน้อยด้านขวา จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
เพราะฉะนั้น รู้สถานที่รบ รู้เวลารบ แม้ไกลแต่ถ้าควบคุมได้ควรรบ ไม่รู้สถานที่รบ ไม่รู้เวลารบ ซ้ายจะช่วยขวาก็ไม่ได้ ขวาจะช่วยซ้ายก็ไม่ได้ กองหน้าจะช่วยกองหลัง กองหลังจะช่วยกองหน้าไม่ได้
“ ตามที่ข้าพเจ้าคิด แม้ฝ่ายหนึ่งจะมีกำลังมาก แต่หากถูกหลอกล่อ ถูกลวง
อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรวมกำลังมากกว่าฝ่ายแรกอยู่ร่ำไป ฝ่ายแรกย่อมมิอาจรบด้วยได้ ”
๕. ฉะนั้นก่อนออกรบ เพื่อเข้าใจการหลอกล่อ การลวงของข้าศึก ต้องเข้าใจผลได้ผลเสีย กับสถานการณ์ข้าศึกให้แตกเสียก่อน ใช้การล่อให้ข้าศึกเคลื่อนไหวเป็นหลัก จับท่าทีของข้าศึกให้ได้รู้ที่ใดรบได้รบไม่ได้ ที่ใดได้เปรียบเสียเปรียบ มีกำลังน้อยกำลังมาก และเมื่อไรนั่นเอง
๖. เพราะว่าสุดยอดของศักย์สงครามคือ “ ปราศจากรูป ” การปราศจากรูปนี้ แม้ข้าศึกมีสายลับแทรกซึมลึกซึ้งก็ไม่อาจรู้เราได้ แม้ใช้คนมีความรู้ก็คิดไม่ออก เพราะปราศจากรูป อ่านท่าทีเขาให้แตกใช้ท่าทีนั้นเปลี่ยนรูปเรา นำชัยชนะที่คนธรรมดามิอาจเห็นได้ คนธรรมดาแม้รู้จักชัยชนะของตนแต่ไม่ทราบจะชนะอย่างไร เมื่อใด และที่ใด
ดังนั้น สภาพของชัยชนะไม่ควรให้เกิดขึ้นซ้ำสอง
เปลี่ยนแปลงตามศักย์สงครามข้าศึกนับไม่ถ้วนจึงดี
๗. ฉะนั้น ศักย์สงคราม รูปแบบทางทหาร จึงเหมือนน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ หลีกเลี่ยงที่สูงเหมือนไม่ปะทะข้าศึกที่มีการเตรียมการดี โจมตีที่ที่มีการเตรียมการหลอก เอาชัยข้าศึกเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก เหมือนน้ำไหลตามรูปแบบภูมิประเทศ
เพราะฉะนั้น รูปแบบที่แน่นอนของการใช้กำลัง และศักย์สงครามจึงไม่มีเช่นเดียวกับน้ำที่ปราศจากรูป เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ลึกซึ้งยากจะคะเนได้

............................................................
บทที่ ๗ การแข่งขัน
๑. SUNTZU กล่าวไว้
จากกฎของสงคราม ตั้งแต่แม่ทัพรับคำสั่งผู้นำประเทศให้จัดกำลังทหารเข้ายันข้าศึกจนถึงเมื่อเตรียมกำลังพร้อมยกไปตั้งรับข้าศึกเสร็จสิ้น ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “ การแข่งขันทางทหาร ” เป็นการแข่งขันที่ชิงความได้เปรียบ เป็นเรื่องที่ไม่ถึงกับยากนัก ความยากของการแข่งขันทางทหาร ก็คือการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การทำสิ่งที่จะเกิดความเสียหายให้พลิกกลับเป็นประโยชน์
นั่นเอง .....................
การแข่งขันทางทหารนั้นยังมีอันตรายอย่างหนึ่ง เมื่อทหารทั้งหมดพยายามแข่งขันกับข้าศึกเพื่อเข้ายึดพื้นที่ได้เปรียบให้ได้ก่อน การเคลื่อนกำลังทั้งหมดย่อมล่าช้าเสียเวลา ซึ่งหากไม่คำนึงถึงรังแต่จะรีบไปให้ถึงก่อนข้าศึก ก็อาจไม่สามารถขนเอาเสบียงอาหาร อาวุธที่จำเป็นไปด้วยได้ ทหารที่ขาดเสบียงอาหาร และอาวุธย่อมพ่ายแพ้ ขณะทิ้งเสบียงอาหาร และอาวุธรีบเดินทางทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีพักเพื่อจะไปได้เร็วขึ้น ถ้าแม่ทัพถูกจับก็หมายถึงความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง ทหารที่แข็งแรงอาจจะไปถึงได้ ทหารที่อ่อนล้าจะถึงทีหลัง ๑๐๐ ลี้เคลื่อนไป ๑๐ คนจะมาถึงได้ ๑ คน ๕๐ ลี้จะมาได้ครึ่งหนึ่ง ๓๐ ลี้จะมาได้ ๒ ใน ๓ คนเท่านั้น .........................
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดั่งนี้คือ ความลำบาก ความยาก ของการแข่งขันทางทหาร
๒. ดังนั้น
ไม่รู้เรื่องภายในของต่างชาติ เป็นพันธมิตรกับต่างชาตินั้นย่อมไม่ได้
ไม่รู้ภูมิประเทศ การเคลื่อนทัพเข้าไปย่อมทำไม่ได้
ไม่รู้วิธีใช้คนในพื้นที่นั้น ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น
๓. ด้วยเหตุนี้
การสงครามนั้นใช้การดัดหลังคู่ต่อสู้เป็นหลัก เคลื่อนไหวไปในที่ที่เป็นประโยชน์ เปลี่ยนแปลงรูปด้วยการ กระจายกำลัง และรวมกำลัง ฉะนั้นเคลื่อนไหวรวดเร็วเช่นดั่งลม รอคอยเหมือนไม้ซ่อนลมหายใจ รุกรบเช่นเปลวเพลิง เข้าใจยากดุจความมืด เข้มแข็งดุจขุนเขา เกรียวกราดเหมือนสายฟ้า จะรวบรวมเสบียงอาหารให้กระจายกำลังออกไป จะขยายพื้นที่ยึดครองให้รักษาจุดสำคัญมั่นคง เคลื่อนไหว
ระมัดระวังคิดอ่านรอบคอบ
ชิงปฏิบัติการก่อนข้าศึก ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
”ผู้รู้เข้าใจดีชนะ ดั่งนี้คือกฎของการแข่งขัน ”
๔. การศึกนั้นยากที่จะสั่งการใดใดด้วยปากให้ทุกคนเข้าใจได้ จะต้องเตรียมเครื่องมือบางอย่างที่จะทำให้ หู และตาของเหล่าทหารหาญเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
การที่ทหารของฝ่ายเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ผู้กล้าก็ฝ่ามาไม่ได้ ผู้ขลาดก็ถอยหนีไม่พ้นความสับสนจะหมดไป จะทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบตามสถานการณ์ได้ทันต่อเหตุการณ์ นำมาซึ่งหนทางแห่งชัยชนะ
................................................................
บทที่ ๘ เก้าเหตุการณ์
๑. SUNTZU กล่าวไว้
ตามกฎของสงคราม
- อย่าโจมตีข้าศึกบนเนินสูง
- อย่าตั้งรับข้าศึกที่รุกเข้ามาโดยมีเนินเขาอยู่เบื้องหลัง
- อย่าเผชิญหน้ากับข้าศึกในที่รกชัดเป็นเวลานาน
- อย่ารุกไล่ข้าศึกที่หลอกถอย
- อย่าโจมตีข้าศึกที่ขวัญดี
- อย่ากินเหยื่อที่ข้าศึกลวงไว้
- อย่าหยุดข้าศึกที่กำลังกลับบ้านเกิด
- อย่าล้อมข้าศึกโดยมิดชิด ต้องเปิดทางให้หนีอย่างน้อย ๑ ทาง
- อย่ารุกไล่ข้าศึกที่ถอยอย่างระมัดระวังเข้าไปชิดนัก
ทั้งหมดคือ เก้าเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้น เป็นกฎของสงคราม
๒. ถนนที่น่าจะผ่านไปด้วยดี แต่ผ่านไม่ได้นั้นมีอยู่
กองทัพข้าศึกที่น่าเข้าตี แต่เข้าตีไม่ได้นั้นมีอยู่
ป้อมปราการที่มั่นที่น่าเข้าโจมตี แต่เข้าโจมตีไม่ได้นั้นมีอยู่
พื้นที่ที่น่าเข้ายึดครอง แต่เข้ายึดครองไม่ได้นั้นมีอยู่
“ คำสั่งของผู้นำประเทศที่น่าปฏิบัติตาม แต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็มีอยู่เช่นกัน ”
๓. เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่คำนึงผลได้ผลเสียจากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี คือผู้ใช้ทหารอย่างระมัดระวัง แม่ทัพที่ไม่คำนึงผลได้ผลเสียจากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี แม้จะเข้าใจภูมิประเทศดีแต่ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น
ในการควบคุมการใช้กำลังทหารนั้น เก้าเหตุการณ์นี้เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แม้จะเข้าใจถึง ๕ ส่วน ก็ยังมิสามารถใช้กำลังทหารให้เกิดประโยชน์อย่างเพียงพอได้ ...............
๔. ดังที่กล่าวมา
การคิดอ่านของผู้รู้นั้น คิดเรื่องราวใดต้องระมัดระวังผลได้ และผลเสียประกอบกันไปเรื่องราวใดเป็นประโยชน์ก็ต้องคิดอ่านด้านผลเสียด้วย งานก็จะสำเร็จบรรลุเป้าหมาย เรื่องราวใดเป็นผลเสียก็ต้องคิดอ่านด้านดีด้วย ความกังวลก็จะหมดไป .............

๕. ฉะนั้น
ชี้ให้เห็นผลเสียจึงสยบต่างชาติ
ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจึงใช้ทูตต่างชาติ
ชี้ให้เห็นประโยชน์จึงให้ข้าศึกแตกหนี
๖. เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้ยกกองทัพมา เราพึ่งพาการเตรียมการที่พร้อมต่อข้าศึกที่จะยกมาทุกเมื่อ เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้เข้าโจมตี แต่เราพึ่งพาการตั้งมั่นที่มิอาจเข้าตีได้ต่างหาก
๗. ฉะนั้น สำหรับแม่ทัพมีอันตรายอยู่ ๕ ประการ
- สำนึกว่าตนต้องสู้ตาย ไม่รู้จักถอย แล้วถูกฆ่าตาย
- คิดแต่จะเอาตนรอด ขาดความกล้า แล้วถูกจับเป็นเชลย
- เอาแต่ใจร้อนจนผู้คนทั้งหลายมองว่าบ้าเลือด
ขาดความกระตือรือร้น ตกอยู่ในสภาวะต้องอาย
รักทหารจนต้องเหนื่อยเพราะทำงานให้ทหาร
๕ ประการเหล่านี้ยามศึกเป็นผลเสีย กองทัพละลาย แม่ทัพตายในสนามรบ จะต้องเกิดขึ้นจาก ๕ ประการดังกล่าวแน่นอน จำเป็นที่แม่ทัพจะต้องระมัดระวังใส่ใจ …...........
…................................................................
บทที่ ๙ เคลื่อนกำลัง
๑. SUNTZU กล่าวเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งของกองทัพ กับการหาข่าวสถานการณ์ข้าศึกไว้ดังนี้
จะข้ามเขาให้เลาะร่องเขา พบที่สูงให้อยู่ที่สูง รบที่สูงอย่าหันหาข้าศึกที่สูงกว่า ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพบนเขา
ถ้าข้ามแม่น้ำมาแล้วจงอยู่ให้ไกลจากฝั่งแม่น้ำ ข้าศึกโจมตีข้ามแม่น้ำมาอย่ารับการโจมตีตรงกลางแม่น้ำ จงเข้าตีขณะข้าศึกข้ามมาได้ครึ่งหนึ่งจะได้เปรียบ อย่ารับการโจมตีจากข้าศึกริมน้ำ พบพื้นที่สูงอยู่ที่สูง หากต้องอยู่ปลายน้ำอย่ารบกับข้าศึกต้นน้ำ ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพกับแม่น้ำจะข้ามที่ลุ่มมีน้ำขัง ถ้าทำได้รีบไปให้เลยออกไปโดยเร็ว ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องรบในที่ลุ่มเตรียมน้ำอาหาร หญ้าฟางมากๆ และตั้งทัพโดยเอาป่าไว้เบื้องหลัง ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ลุ่ม
ในที่ราบจงอยู่ที่สะดวก เอาที่สูงอยู่เบื้องหลังที่ต่ำอยู่เบื้องหน้า ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ราบ
การใช้ประโยชน์พื้นที่ภูมิประเทศเป็นเหตุผลให้ได้ชัยชนะมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์
๒. โดยทั่วไปที่ตั้งกองทัพ ที่สูงกว่าดี ที่ต่ำกว่าไม่ดี มีแสงแดดดี ไม่มีแสงแดดไม่ดี อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ปลอดโรคภัย โรคภัยไข้เจ็บในกองทัพก็เป็นเงื่อนไขแพ้ชนะ …..
นี่เป็นผลที่ได้จากภูมิประเทศ
๓. ต้นน้ำที่ฝนตกลงมา น้ำจะเชี่ยวกราด รอให้กระแสน้ำเบาลงก่อนจึงคิดข้าม
๔. พื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ เช่น หนองน้ำ บึง หลุม หุบผาแคบ ต้องรีบผ่านไปอย่างรวดเร็ว อย่าเข้าใกล้ เราเมื่อพยายามอยู่ไกล แต่ชี้ให้ข้าศึกอยู่ใกล้ ฝ่ายเราเมื่อหันหน้าเข้าหา ชี้ให้ข้าศึกมีพื้นที่นั้นอยู่เบื้องหลัง
๕. บริเวณตั้งทัพมีป่ารก ให้ระมัดระวังให้ดี ที่นั่นจะเป็นที่ที่มีข้าศึกซุ่มอยู่ มีหน่วยลาดตระเวนข้าศึกอยู่

๖. ข้าศึกยิ่งใกล้ยิ่งเงียบ แสดงว่าข้าศึกพึ่งพาความรกของภูมิประเทศ
ข้าศึกแม้อยู่ไกลแต่พยายามรบติดพัน แสดงว่าหวังจู่โจม
ข้าศึกตั้งอยู่ในที่ราบ เหมือนข้าศึกชี้ให้เราเห็นประโยชน์ให้เราออกรบ
มีเสียงต้นไม้ใบหญ้า แสดงว่าข้าศึกกำลังโจมตีมา
นกบินหนี แสดงว่ามีข้าศึกซุ่มอยู่
สัตว์ป่าตกใจ แสดงว่าข้าศึกจู่โจม
ฝุ่นฟุ้งกระจาย แสดงรถรบข้าศึก
ฝุ่นเป็นแผ่นกว้าง แสดงว่าเป็นทหารราบ
ฝุ่นฟุ้งกระจายเล็กน้อย นั่นแหละข้าศึกกำลังสร้างกองบัญชาการ
๗. ทูตข้าศึกเข้ามาพูดหลอกล่อพยายามแสดงว่าเพิ่มการตั้งรับ นั่นคือเตรียมการสำหรับรุก
ทูตข้าศึกแสดงให้ดูว่ากล้าหาญเตรียมการรุก นั่นคือข้าศึกเตรียมการถอย
ข้าศึกมิได้ตกอยู่ในสภาวะลำบากพยายามปรองดอง แสดงว่าข้าศึกมีแผนลับ
รถรบขนาดเบาออกหน้า แสดงว่ากำลังหลักอยู่สองข้าง
ทหารวิ่งกันสับสนมาจัดใหม่เป็นแถวเป็นระเบียบ แสดงว่าเตรียมรบขั้นแตกหัก
ครึ่งหนึ่งไปข้างหน้า อีกครึ่งหนึ่งไปข้างหลัง แสดงว่ากำลังหลอกล่อ นั่นเอง …....
๘. การสงครามนั้นใช่ว่าคนยิ่งมากยิ่งดีก็หาไม่ เพียงแต่ไม่ผลีผลาม ถ้าสามารถคาดการณ์ข้าศึกระดมพลได้เหมาะสม ก็สามารถรวบรวมชัยชนะได้เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคิดอ่านไม่รอบคอบประมาทข้าศึก ต้องถูกข้าศึกจับเป็นเชลยแน่ ถ้าทหารหาญไม่ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง ทั้งยังถูกลงโทษ เขาเหล่านั้นจะไม่เชื่อฟัง เมื่อไม่เชื่อฟังก็ปกครองยาก ถ้าทหารหาญแม้ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง แต่มิได้ใช้การลงโทษแก่ผู้ทำผิด คำสั่งที่ต้องปฏิบัติจะกลายเป็นเรื่องเล่นๆ ไม่สามารถปกครองใช้งานได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้น แม่ทัพนายกองต้องใช้ คุณธรรม ระเบียบวินัย และการลงโทษทัณฑ์ในการปกครอง นี้เป็นเงื่อนไขชัยชนะ
การรักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำวัน เมื่อออกคำสั่งทหารจะเชื่อฟัง ถ้าไม่รักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำวัน เมื่อออกคำสั่งทหารจะไม่เชื่อฟัง
ความจริงใจต่อระเบียบวินัยจากชีวิตประจำวันของทหาร
ชนะใจประชาชนได้ สามารถกำจิตใจประชาชนเป็นหนึ่งได้
….....................................................................
บทที่ ๑๐ ภูมิประเทศ
๑. SUNTZU กล่าวไว้ ลักษณะภูมิประเทศมี ๖ ประเภท
ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู่
ที่ไปสะดวกแต่กลับลำบากก็มีอยู่
ทางแยกเป็นหลายแพร่งก็มีอยู่
มีที่แคบ
มีที่รก
มีที่ไกล
สำหรับที่ไปมาสะดวก จงรีบเข้ายึดโดยเฉพาะที่ดีเป็นที่สูงมีแสงแดด ก่อนออกศึกหากสถานที่ดังกล่าวไม่ถูกตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุง การรบจะมีเปรียบ สำหรับสถานที่ไปง่ายกลับลำบาก ถ้าเข้าไปในที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการชนะได้ แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมการจะไม่อาจชนะข้าศึกได้ จะถอนกลับก็ยาก การรบจะเสียเปรียบ สำหรับทางหลายแยกจะออกจะเข้าล้วนเสียเปรียบ ข้าศึกใช้ผลประโยชน์หลอกล่อให้เราออกรบ อย่าออกรบ พยายามถอยออกให้ไกล ถ้าข้าศึกตามค่อยเข้าตีจะมีเปรียบสำหรับที่แคบ ควรยึดได้ก่อนข้าศึก จากนั้นรวมกำลังรอคอยการมาของข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อน อย่าเข้าตีที่แคบ ถ้าข้าศึกมิได้รวมกำลังไว้เข้าตีดีคือที่รก เราควรยึดก่อน ควรอยู่ในที่สูงรอคอยข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อนควรอยู่ให้ห่าง ฝ่ายเรา และข้าศึกตั้งทัพอยู่ไกลกัน ถ้ากำลังรบพอกันรบกันยาก ฝ่ายรุกก่อนเสียเปรียบ
เหล่านี้คือ ๖ ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แม่ทัพต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างเพียงพอ
๒. ในกองทัพนั้นมีพวกหนีทหาร พวกปล่อยตัว พวกซึมเศร้า พวกแหกคอก พวกวุ่นวาย และพวกแพ้แล้วหนี ทั้งหมด ๖ จำพวก โดยทั่วไปแม้มิได้เกิดเภทภัยก็จะทำให้แม่ทัพเดือดร้อนอยู่เสมอๆ
พวกเหล่านี้ เมื่อฝ่ายเราห้าวหาญพอๆ กับข้าศึก แต่ข้าศึกมีมากกว่า ๑๐ เท่า แม้ยังมิได้ต่อสู้ก็หนีตายกันหมดสิ้นแล้ว
ถ้าทหารเข้มแข็งแต่ตัวนายอ่อน กองทัพจะไม่มีกำลัง ถ้าทหารอ่อนแต่ตัวนายเข้มแข็ง กองทัพก็จะไม่คึกคักขวัญจะไม่ดี ถ้าตัวนายโกรธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของแม่ทัพ แต่เมื่อข้าศึกยกมาต้องออกรบโดยมีความโกรธอยู่ในใจ รบแต่ตามที่ตนเองคิด กองทัพก็จะไปไม่รอด แม่ทัพที่หย่อนยานไม่เคร่งครัดออกคำสั่งไม่แน่นอน ตัวนาย และทหารย่อมปฏิบัติไม่ได้ เกิดความวุ่นวาย แม่ทัพจะคิดอ่านสถานการณ์ข้าศึกก็ย่อมทำไม่ได้ ปะทะข้าศึกคราวใดก็ตีข้าศึกที่แข็งกว่าเสมอ ทหารจะหมดความกล้าหนีหายหมด
ทั้งหมดเกิดจากคน ๖ จำพวกดังที่กล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุแห่งความพ่ายแพ้
ถือเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ จะต้องคิดอ่านเรื่องนี้อย่างเพียงพอ
๓. ลักษณะของภูมิประเทศเป็นสิ่งช่วยการศึก ถ้าคิดอ่านพิจารณารอบคอบแล้วชนะได้
“ การพิจารณาภูมิประเทศ และดัดแปลงมาใช้ทางยุทธวิธี เป็นงานยิ่งใหญ่ของแม่ทัพ ”
ถ้าพิจารณารอบคอบระมัดระวังต้องชนะแน่นอน ถ้าพิจารณาไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังต้องแพ้แน่นอน
ถ้าคิดอ่านแล้วชนะแน่นอน แต่ผู้นำประเทศสั่งอย่าใช้กำลัง การตัดสินใจรบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง
ถ้าคิดอ่านแล้วแพ้แน่นอน แต่ผู้นำประเทศสั่งให้ใช้กำลัง การตัดสินใจไม่รบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง
เพราะฉะนั้น มิได้แสวงหาชื่อเสียง รุกเมื่อควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควรถอย เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
“ ถ้าผลประโยชน์ตรงกันกับผู้นำประเทศ
แม่ทัพคนนี้คือสมบัติล้ำค่าของประเทศชาติ ”
๔. ปกครองทหารเหมือนดูแลเด็ก ทหารย่อมสามารถติดตามแม่ทัพไปในที่อันตรายได้
ปกครองทหารเหมือนลูก มีความรักความผูกพัน ทหารก็พร้อมจะร่วมเป็นร่วมตายกับแม่ทัพได้
แต่ให้ความอบอุ่นอย่างเดียวใช้งานทหารไม่ได้ ให้แต่ความรักสั่งการใดใดย่อมไม่ได้
จะใช้ประโยชน์อันใดย่อมทำไม่ได้
๕. เมื่อรู้ว่ามีกำลังพอที่จะเข้าตีข้าศึกรวบรวมชัยชนะได้ แต่ไม่รู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีไม่ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ แต่ไม่รู้ว่ากำลังฝ่ายเราไม่เพียงพอ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ และรู้ว่ากำลังฝ่ายเรามีเพียงพอ แต่ไม่รู้ว่าสภาพพื้นที่ภูมิประเทศรบไม่ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ ......
ฉะนั้น คนที่เข้าใจการรบดี รู้ข้าศึก รู้เรา รู้พื้นที่ภูมิประเทศ รู้เวลา จึงสามารถใช้กำลังทหารได้โดยไม่หลง การศึกก็จะไม่ลำบาก
เพราะฉะนั้น รู้เขา รู้เรา ชัยชนะไม่ไปไหน รู้ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม และเวลา
กล่าวได้ว่าจะสามารถชนะได้อยู่เสมอ
..............................................................
บทที่ ๑๑ เก้าสนามรบ
๑. SUNTZU กล่าวไว้
การศึกนั้นมี พื้นที่แตก พื้นที่เบา พื้นที่ได้เปรียบ พื้นที่สัญจร พื้นที่ติดต่อ พื้นที่สำคัญพื้นที่ลำบาก พื้นที่ถูกล้อม และพื้นที่สังหาร
สนามรบที่ต่อสู้ในประเทศตนเองหมายถึงพื้นที่แตก สนามรบที่อยู่ในดินแดนข้าศึกแต่ไม่ไกลจากพรมแดนนักคือพื้นที่เบา พื้นที่ที่ข้าศึกยึดได้มีเปรียบ เรายึดได้เราก็มีเปรียบคือพื้นที่ได้เปรียบ พื้นที่ที่คิดจะไปก็ได้คิดจะมาก็ได้คือพื้นที่สัญจร พื้นที่ที่มี ๔ ทิศถ้าเราเข้าไปได้ก่อนสามารถรับความช่วยเหลือจากต่างชาติ สามารถรวบรวมจิตใจประชาชนได้คือพื้นที่ติดต่อ พื้นที่ลึกในดินแดนข้าศึกผ่านไปด้วยที่มั่นของข้าศึก หมู่บ้านมากมาย เป็นพื้นที่สำคัญ ต้นไม้รกทึบ มีหนองบึงเคลื่อนไหวลำบากเป็นพื้นที่ลำบากยิ่งเข้าไปยิ่งแคบถอยออกยาก ข้าศึกใช้กำลังเพียงเล็กน้อยก็โจมตีเราได้คือพื้นที่ถูกล้อม ต้องใช้การต่อสู้สุดชีวิตมิฉะนั้นจะเอาตัวรอดไม่ได้คือพื้นที่สังหาร ........
ดังกล่าวแล้ว ถ้าเป็นพื้นที่แตกอย่ารบ พื้นที่เบาอย่าชักช้า พื้นที่ได้เปรียบรีบเข้ายึดก่อนถ้าข้าศึกยึดก่อนอย่าเข้าตี พื้นที่สัญจรอย่าทิ้งระยะกันห่าง พื้นที่ติดต่อใช้การทูต พื้นที่สำคัญใช้แย่งเสบียงอาหารจากข้าศึก พื้นที่ลำบากรีบผ่านให้พ้นไป พื้นที่ถูกล้อมใช้แผนลับ พื้นที่สังหารควร สู้สุดชีวิต
๒. ขุนศึกที่เชี่ยวชาญการรบสมัยก่อน จะทำให้ทัพหน้า และทัพหลังของข้าศึกติดต่อกันไม่ได้ทำให้กำลังใหญ่กำลังเล็กช่วยเหลือกันไม่ได้ ทำให้คนสูงคนต่ำช่วยกันไม่ได้ ทำให้นายกับบ่าวช่วยกันไม่ได้ ทำให้ทหารข้าศึกที่แตกกระจายรวมกันไม่ติด ถึงรวมติดก็ไม่เป็นระเบียบ
ดังนี้ ฝ่ายเราจะเริ่มเคลื่อนไหวเมื่อได้เปรียบ
ถ้ายังไม่ได้เปรียบไม่เคลื่อนไหว รอคอยโอกาสที่ได้เปรียบ
๓. “การสงครามนั้น ความรวดเร็วเป็นอันดับหนึ่ง
ใช้จังหวะที่ข้าศึกกำลังเตรียมการ
ใช้วิธีที่ข้าศึกคาดไม่ถึง
ใช้การโจมตีสถานที่ที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการป้องกัน ”
๔. ปกติการโจมตีประเทศข้าศึก
ถ้าบุกลึกเข้าไปยึดพื้นที่สำคัญในประเทศข้าศึก ฝ่ายเราต้องสามัคคีกันไว้ เนื่องจากเป็นพื้นที่แตกของข้าศึก ข้าศึกจะไม่สามารถต้านทานเราได้ และหากพื้นที่นั้นอุดมสมบูรณ์ เสบียงอาหารที่มาเลี้ยงกองทัพก็จะเพียงพอ และเมื่อเลี้ยงดูทหารเป็นอย่างดีแล้ว อย่าให้ต้องเหนื่อยอ่อน เพิ่มขวัญ และกำลังใจในการรบ ใช้แผนลับเคลื่อนกำลังจนข้าศึกไม่สามารถคาดการณ์ได้ จะไปที่ใดใดทหารที่ต้องตาย
หรือหนีตายจะไม่ปรากฏ ถ้าระดับนายกองสู้อย่างสุดความสามารถ ทำไมจะไม่ได้มาซึ่งชัยชนะเล่า แม้เหล่าทหารจะตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายก็มิเกรงกลัว มิต้องมีสัญญาก็ช่วยเหลือกัน มิต้องสั่งการใดใดก็ปฏิบัติด้วยความจริงใจ แม้ต้องตายจิตใจก็ไม่เปลี่ยนแปลง แม้เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ออกคำสั่งรบขั้นเด็ดขาด ถึงน้ำตาจะไหลนองเนื่องจากผู้ต้องจากไป แต่ในสถานการณ์คับขันเช่นดังนี้ :-
ทุกคนจะกล้าหาญอย่างที่สุด
๕. ฉะนั้น
ยอดนักรบนั้นเรียกว่าสู้ยิบตา สู้ยิบตานั้นเหมือนมดแมลงที่อยู่ตามเขานั่นเองเมื่อโจมตีด้วยส่วนหัว ส่วนหางก็จะเข้ามาช่วย เมื่อโจมตีด้วยส่วนหาง ส่วนหัวจะเข้าช่วยเมื่อถูกโจมตีที่ท้อง ส่วนหัว และส่วนหางจะเข้าช่วย และโจมตีข้าศึกพร้อมกัน .........
.............................................................
บทที่ ๑๒ ไฟ
๑. SUNTZU กล่าวไว้
ปกติการรุกด้วยไฟมี ๕ ประการ
- เผาคน
- เผาเสบียง
- เผาอาวุธ
- เผายุทธปัจจัย
- เผาเส้นทาง
การใช้ไฟนั้น มีเงื่อนไขที่แน่นอน การใช้ไฟบินนั้นก็เช่นกัน ต้องมีเครื่องมือที่แน่นอน การเริ่มทำการรุกด้วยไฟนั้น มีเวลาที่เหมาะสม มีวันที่เหมาะสม ........
๒. ปกติการรุกด้วยไฟนั้น เมื่อฝ่ายเราเริ่มจุดไฟ ขณะกองบัญชาการข้าศึกติดไฟให้ระดมทหารเข้ารบ แต่ถึงแม้ไฟติดแล้วข้าศึกยังเงียบอยู่ ให้รอก่อน จะรบทันทีนั้นไม่ได้ ปล่อยให้ไฟเผาไปพิจารณาสถานการณ์แล้วถ้าโจมตีได้ให้รบ ถ้าโจมตีไม่ได้อย่ารบ แม้ไฟลุกลามจากภายนอกถ้าสถานการณ์เหมาะสมก็รบได้ อย่าโจมตีใต้ลม ใช้ลมตอนกลางวัน อย่าใช้ลมกลางคืน ระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงของไฟรอบคอบ เป็นยุทธวิธีการใช้ไฟ ........
๓. ฉะนั้น
การใช้ไฟช่วยในการโจมตีได้ ถือว่าฉลาด
การใช้น้ำทำลายข้าศึกได้ ถือว่าเป็นอำนาจ
๔. การที่รุกรบได้ชัยต่อข้าศึก แต่ไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ ถือว่าโชคร้ายไร้ประโยชน์ถ้ามิใช่เพราะประโยชน์ของบ้านเมือง อย่าทำ ถ้าทำแล้วไม่สามารถสำเร็จได้ อย่าใช้กำลัง ถ้ามิได้ตกอยู่ในอันตราย อย่ารบ ....
แม่ทัพไม่สามารถจัดกระบวนศึกได้ก็เพราะความแค้นเคือง
ทหารย่อมรบไม่ได้ก็เพราะความโกรธ
ชั่วขณะในอารมณ์โกรธ อาจกลับมาเกิดความสบายใจ
ชั่วขณะแค้นเคือง อาจกลับมาเกิดความพึงพอใจ
แต่บ้านเมืองเมื่อพินาศย่อยยับแล้ว ไม่อาจซ่อมแซมได้ คนตายย่อมมิอาจฟื้น
ฉะนั้น แม่ทัพที่ฉลาดจะมีการตัดสินใจดี รอบคอบ
บ้านเมืองย่อมรักษาได้มั่นคง กองทัพย่อมดำรงอยู่ได้
.............................................................
บทที่ ๑๓ สายลับ
๑. การจัดกองทัพด้วยกำลังคนมากมายโดยส่งออกไปรบในที่ไกล ย่อมเกิดความสิ้นเปลืองที่รบกวนต่อเนื่องไปทั่วทั้งบ้านเมือง ประชาชนจะพากันอิดโรย แม้กระนั้น หากแม่ทัพตระหนี่ที่จะใช้ทรัพย์สินมหาศาลเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวกรองข้าศึก แม่ทัพผู้นี้ย่อมไม่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นแม่ทัพได้ ......
ปกติยอดนักรบชนะข้าศึกได้เสมอด้วยการรู้ล่วงหน้าก่อน การรู้ล่วงหน้าก่อน มิได้ใช้เวทมนต์คาถา มิได้ใช้การดูฤกษ์ยาม มิได้ใช้การคำนวณอนาคตใดใดจากเหตุการณ์ในอดีต แต่เขาจะพึ่งพาบุคคลพิเศษ จะต้องเป็นบุคคลเฉพาะจริงที่รู้สถานการณ์ของข้าศึกนั่นเอง
“ ดังกล่าวย่อมต้องเป็นสายลับ ”
๒. สายลับที่ใช้งานมีอยู่ ๕ ประเภท กล่าวคือ
- สายลับในพื้นที่
- สายลับใน
- สายลับสองหน้า
- สายลับที่ยอมตาย
- สายลับที่รอดกลับมา
๓. ในบรรดาผู้สนิทสนมใกล้ชิดแม่ทัพ ไม่มีผู้ใดใกล้ชิดไปกว่าสายลับ ไม่มีใครได้บำเหน็จรางวัลมากกว่าสายลับ และไม่มีเรื่องราวใดเป็นความลับมากไปกว่าเรื่องในหน่วยสืบราชการลับ
“ ผู้มีมนุษยธรรมมาก มีความยุติธรรมมากใช้งานสายลับไม่ได้
ผู้ไม่ละเอียด ไม่มีไหวพริบ ย่อมเอาความจริงจากสายลับไม่ได้
ในกรณีแผนลับแตก ผู้เกี่ยวข้องย่อมต้องโทษประหาร ”
๔. ปกติเมื่อต้องการเข้าโจมตีที่ใด ต้องการสังหารใคร จำเป็นต้องรู้จักนายทหารข้าศึก ผู้บังคับบัญชาข้าศึก ฝ่ายเสนาธิการ องครักษ์ สายลับต้องสืบเรื่องราวของบุคคลที่เกี่ยวข้องเหล่านี้โดยละเอียด จึงสามารถกระทำตามความต้องการได้ .......
๕. เป็นเรื่องสำคัญต้องหาสายลับของข้าศึกที่มาสืบข่าวฝ่ายเราให้พบ แล้วทำให้สายลับผู้นั้นกลับทำงานให้เรา ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ ย่อมได้สายลับสองหน้า เมื่อได้สายลับสองหน้า ย่อมได้สายลับในพื้นที่ และสายลับใน ซึ่งจะทำให้ฝ่ายเราสามารถส่งสายลับที่ยอมตายไปปล่อยข่าวลวงข้าศึก
แม่ทัพจะต้องรู้เท่าทันสายลับทุกประเภท โดยปฏิบัติต่อสายลับสองหน้าอย่างอิสระ .....
...........................................................................
ส่งท้าย
เรื่องราวที่กล่าวถึงทั้งหมด เป็นสิ่งซึ่งแต่ละคนรู้ได้ เข้าใจได้ จากสิ่งแวดล้อม วันเวลา และประสบการณ์ดีนักรบที่คร่ำศึกย่อมสามารถเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ได้แต่ผู้ที่เข้าใจลึกซึ้งกว่า คือผู้กำชัยชนะชี้ขาดชะตากรรมของข้าศึกแน่นอน .................................
SUNTZU
จอม รุ่งสว่าง ผู้แปล

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&group=17

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&group=17

ไม่กล้าก็ไม่ก้าว... ไม่ก้าวก็ไม่เดิน

ไม่กล้าก็ไม่ก้าว... ไม่ก้าวก็ไม่เดิน..
.“ผู้ที่มีลักษณะที่จะประสบความสำเร็จ และพบความสุขคือผู้ที่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผู้ที่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองคือผู้ที่กล้าหาญที่จะรับฟังคำติมากกว่าคำชม คือ กล้า...ผู้ที่มีลักษณะที่จะล้มเหลว และมีแต่ความทุกข์ใจคือผู้ที่ยึดตัวเองเป็นหลัก ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น ผู้ที่ยึดตัวเองเป็นหลัก คือผู้ที่หมดโอกาสเรียนรู้โดยแท้จริงแม้ใจอยากได้แต่สิ่งดีๆ แต่สิ่งดีๆก็เข้าไม่ถึงใจเพราะความกลัว ใจจึง ปิด ความคิด จึงไม่ก้าว”
1.เชื่อมั่นและศรัทธาในมือข้างขวาของคุณ“ ธรรมชาติสร้างแขนมาให้มนุษย์สองข้าง พร้อมมือสวยๆ อีกหนึ่งคู่ คนส่วนมากถนัดขวา ใช้มือขวามากกว่ามือซ้าย มือซ้ายคือมือแห่งโชคชะตา มือขวาคือมือที่สร้างและทำ แต่คนหลายคนกลับปล่อยให้โชคชะตามากำหนดชีวิต”…โชคชะตาเป็นสิ่งนามธรรมที่คนเราคิดขึ้นมาเอง มันจะไม่มีทางมีอิทธิพลเหนือกว่าจิตใจเราได้เลย..เมื่อไหร่ที่หัวใจอ่อนแอ อย่าปล่อยให้ชีวิตเอนตาม
2. ปัญหามีไว้แก้ไข ..หลบได้ พักได้แต่อย่าหนีการนั่งดูปัญหาตีกันแม้มันจะไม่ถูกต้องนัก แต่อย่างน้อยเราจะเป็นคนคุมเกม ดีกว่าลงไปแก้ปัญหา ทั้งที่หัวใจยังอ่อนแอ.เวลาที่เชือกพันกัน คนส่วนมาก มักจะใช้มีดตัดออกจะมีใครสักกี่คนมานั่งแก้ด้วยมือปัญหาของคนเรา จริงๆแล้วคือการหนีปัญหานั่นแหละ เพราะถ้าเราตั้งใจแก้มัน มีหรือจะไม่มีทางออก แพ้บ้าง ชนะบ้าง เป็นเรื่องปกติ
3. อย่ากลัวผิดถ้าคิดจะพูด..อย่าคิดว่าสิ่งที่คนอื่นพูดนั้นผิด
บางทีความเงียบสงบก็สยบความเคลื่อนไหวไม่ได้เสมอไปหรอกแม้ว่าเราจะนั่งในที่ตัวเองเราก็มีสิทธิ์ถูกชนถ้าเราไม่ส่งเสียงให้เขารู้ว่าเรานั่งอยู่.คนที่พยายามทำทุกอย่างให้ถูกใจคนอื่น คนนั้นจะเป็นคนที่เหนื่อยที่สุดตลอดชีวิต การตอบคำถามเพื่อเอาใจคนถาม ก็เท่ากับว่าเรายอมให้เขาครอบงำ .. เมื่อสูญเสียความเป็นตัวเองไปแล้ว เธอจะเรียกมันกลับคืนมาได้ยาก อย่าลืมว่า คนแต่ละคน พูด ฟัง คิด ไม่เหมือนกัน ไม่มีใครทำอะไรถูกใจใครได้ทั้งหมดองค์กรไม่ได้ต้องการคนที่ทำตามใจเขาทั้งหมด ถ้าเธอไม่แสดงให้เขาเห็นว่า มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในคุณค่าของตัวเอง แล้วจะให้เขาเชื่อได้อย่างไรว่าเธอจะสามารถพาองค์กรของเขาก้าวไปข้างหน้าได้...
4. การเปลี่ยนแปลงเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีกว่าโลกนี้คงหยุดหมุนไปนานแล้ว ถ้าคนทุกคน ไม่กล้าเริ่มต้นอะไรใหม่ๆเพียงบางสิ่งบางอย่างในชีวิตเธอ เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้นเอง ไม่เห็นมีอะไรเลวร้ายอย่างที่คิดเลย
5. ความรัก…กับพลังในการก้าวหน้าถ้าสังเกตดูดีๆ ผู้ชายจะยอมทิ้งผู้หญิงที่รัก ทิ้งหัวใจ เพื่อสร้างโลก แต่ผู้หญิงจะยอมทิ้งโลก เพื่อผู้ชายที่รักอยากให้คนที่รู้สึกแบบนี้ อย่ามองความรักเป็นความเคยชินที่ต้องได้ ลองมองความรักเป็นของขวัญที่วิเศษ เพราะทุกครั้งที่ได้ของขวัญจากใคร หัวใจเราจะเต้นแรง..เช่นกันเมื่อได้รักใคร หัวใจเราก็จะเต้นแรง พอหัวใจเต้นแรง เลือดก็สูบฉีด สมองก็ปลอดโปร่ง แล้วแบบนี้ จะไม่มีแรงก้าวไปข้างหน้าเลยเชียวเหรอ...
6. โลกนี้พร้อมที่จะให้อภัย คนที่ยอมรับผิดอยู่เสมอ
ผิดครั้งแรกถือเป็นประสบการณ์นั้นจริง แต่ผิดครั้งที่สองไม่ได้หมายความว่าโง่เสมอไป เพราะเคยมีใครหลายคนในอดีตที่ผิดนับพันครั้ง จนสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับโลกได้สำเร็จ.ถ้าคนทุกคนยอมรับความผิดพลาด ของตัวเอง และของคนอื่น โลกนี้จะไม่มีใครทะเลาะกันเลยถ้ากล้ายอมรับว่าเราผิด เราจะเข้าใจ และ ให้อภัยคนอื่นที่เขาทำผิดบ้าง
7. ชีวิตต้องก้าวไปข้างหน้า…เหนื่อยก็หยุดพัก แต่อย่าเดินกลับหลังถ้าเมื่อไหร่เราได้ใช้เวลาในชีวิตอย่างคุ้มค่า เราจะรู้สึกว่าชีวิตที่เหลือนั้นเป็นกำไรล้วนๆเวลาก้าวไปข้างหน้า ทุกๆสิบก้าวเราเหยียบหนาม ถ้าเมื่อไหร่ท้อแล้วเดินกลับหลัง ก็เท่ากับว่าที่ผ่านมาเรา เจ็บฟรี.
8. เวลาในชีวิตมีน้อย อย่าตกเป็นทาสของเวลาถ้าลองนั่งนับดูดีๆ แล้ว อายุคนเราสั้นนิดเดียว ที่ผ่านไปทุกๆ วินาที นั้นคือกำไรชีวิตเราทั้งนั้นศักยภาพของคนมีขอบเขต ทำอะไรได้ในเวลาที่จำกัด ถ้าเราไปฝืน มันก็จะเสียหายไปหมด ...การทำงานที่ดี คือการทำงานในเวลางาน การเรียนที่ดีที่สุด คือการตั้งใจเรียนในห้องเรียน
9. สิ่งดีๆในชีวิต…มักไม่เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ
ชีวิตคนเราต้องเหงื่อออก ทำอะไรแค่ไหน ผลมันก็ย้อนกลับมาแค่นั้น ไม่มีความสำเร็จใดได้มาอย่างง่ายดายสำหรับคนช่างเลือก ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องทำให้ดีที่สุดแม้จะเหนื่อย หนัก ต่อสู้มากสักหน่อย แต่ผลกลับมาก็คุ้มค่าเหนื่อย อย่างน้อยเราก็ได้เลือกสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุดให้ตัวเอง เช่นในการเลือกคนดีๆมาเป็นคู่ครอง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ หรือโชคชะตา ไม่ใช่ว่าเขาดวงดี แต่เพราะเขาเลือกเขาพิถีพิถันกับชีวิต
10.คนที่อยู่รอบข้างทุกคน มีอิทธิพลกับชีวิตเราหลายคน มักมีบุคคลต้นแบบของตัวเอง ไม่ใช่เพื่อเลียนแบบหรือทำตาม แต่เขาจะช่วยให้เราเดินอย่างมีทิศทางมากขึ้นเวลาเราอยู่กับใคร กับอะไรก็ตาม สิ่งนั้นมักมีผลกับจิตใจโดยไม่รู้ตัวในช่วงชีวิตที่ยังมีโอกาสได้พบปะผู้คนมากมาย เป็นโอกาสดีที่เราจะได้เลือกเพื่อน อย่าลืมกลั่นกรองคนที่จะเป็นมิตรสักนิด เพราะคนเหล่านี้จะมีอิทธิพลกับชีวิตเราในอนาคตอีกนาน
11. คบคนทุกประเภท… แต่อย่าทำตัวเหมือนคนบางประเภทในสังคมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ความจำเป็นในชีวิต อาจทำให้เราไม่สามารถเลือกคบคนได้ สำคัญที่ตัวเราว่า จะหนักแน่นและดูแลตัวเองได้แค่ไหน.ถ้าเราคบคนทุกประเภท เราจะมีข้อมูลหลากหลาย และรู้วิธีจัดการกับคนแต่ละแบบ รู้วิธีที่จะทำให้เขาเป็นคนดีของเราได้ หรืออย่างน้อยก็รู้จักวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจาก คนแย่ๆ
12.ลองทำอะไรให้เป็นหลายๆอย่าง..แต่เก่งอย่างเดียว
การทำอะไรได้หลายๆอย่างเป็นสิ่งดี แต่ควรทำให้มันดีสักอย่างสิน่าคนที่มีความสามารถรอบตัว นอกจากไม่เป็นภาระของคนอื่นแล้วเราจะรู้สึกดีทุกครั้ง ที่ความสามารถของเราช่วยคนอื่นได้ด้วย
13.ความรักไม่มีคำว่าสาย…แต่ร่างกายเรามีชิ้นเดียวในโลกสิ่งที่ผู้หญิงมักมองข้าม ยามมีรักทุ่มเทให้เขาทุกอย่าง ให้ขึ้นชื่อว่าเป็นคนรู้ใจเขา ก็ได้รู้ใจเขาทั้งหมดจริงๆ แต่ไม่รู้ใจตัวเอง นานๆ ทีได้มีเวลาส่องกระจกดู ... อ้าว จำตัวเองไม่ได้เสียแล้ว หรือ รักเขาจนลืมดูตัวเองส่องกระจกทักทายตัวเองเสียหน่อย ว่าเราละเลยตัวเองไปหรือเปล่า แล้วดูแลตัวเองเสียบ้าง
14.ถ้าแคร์คำพูดแย่ๆ … ก็เท่ากับแพ้ใจตัวเองถ้าคนหนึ่งตีกลอง แล้วอีกคนยิ่งเต้น คนตีเขาก็ยิ่งตี แต่ถ้าตีแล้วไม่เกิดอะไรขึ้น เขาก็จะหยุดไปเอง เพราะตีไปก็เหนื่อยเปล่าบ่อยครั้งที่เรามักเจอคำพูดแย่ๆ จากคนรอบข้าง ถ้าไม่รู้จักดูแลจิตใจ ความรู้สึกของตัวเอง เราจะถูกบั่นทอนลงทีละนิดดูแลหัวใจของเราให้ดี เรียนรู้ที่จะคิดปฏิเสธคำพูดแย่ๆ จากคนอื่น รู้แหล่งที่มาอย่างมีเหตุผล แล้วจะไม่มีอะไรมาบั่นทอนหัวใจเราได้เลย
15.อย่าพูดว่า “ทำไม่ได้” เพราะจิตเธอจะจำและนำไปใช้
ปาฏิหาริย์ จะเกิดขึ้นได้กับหัวใจที่เชื่อมั่น ความเชื่อมั่น จะทำให้คนเราได้ยิน แต่เสียงในหัวใจตัวเองคำวิจารณ์ในแง่ลบของคนอื่นมักบั่นทอนกำลังใจ แต่นั่นมันความคิดเขา ไม่ได้มาจากสมองเราสักหน่อย ฟังเสียงหัวใจตัวเองอย่าไขว้เขวไปกับเสียงหัวใจคนอื่นบอกตัวเองว่าเธอต้องทำได้ เมื่อนั้นปาฏิหารย์จะเกิดขึ้น
16.เล่นเกมกับเพื่อนใหม่... แล้วจะได้อะไรกลับมามากกว่าที่คิดไม่มีใครบอกตรงๆ หรอกว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน ดีร้ายยังไง คบได้แค่ไหน แต่บางสถานการณ์ในเกม จะเปิดเผยทาสแท้และตัวตนของคนเราอย่างง่ายดาย เราจะตัดสินได้ทันทีว่าคนคนนี้ควรเป็นเพื่อนเรามั๊ยเราจะได้เรียนรู้จากเกม ซึ่งบ่งบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด เกมจะมีคุณค่าในตัวเอง ถ้าเรามุ่งแค่ชัยชนะ เราจะไม่ได้อะไรเลย ลองวัดใจกันด้วยเกม แล้วเธอจะได้เพื่อนคุณภาพเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง
17.คนฉลาด…มักเลือกเค้กชิ้นเล็กเสมอความประทับใจแรกเริ่ม เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดี เวลาที่เริ่มรู้สึกเกลียดกัน เราจะคิดถึงความประทับใจนั้น แล้วจะเกลียดกันไม่ได้เลยบางครั้งการเสียสละเล็กๆ น้อยๆจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ประทับใจให้ผู้อื่นตลอดไปคนที่ใจแคบ มักกลัวการเสียเปรียบ คนแบบนี้ แม้แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆ ขอให้ได้รู้สึกว่าได้เปรียบเสียหน่อย ก็มีความสุขแล้ว
18.อย่าลืมดูแลหัวใจคนอื่น…ด้วยการถ่อมตน
คนเราทุกคนมีค่า การถ่อมตนอย่างถูกกาละเทศะ จะสร้างความรู้สึกดีให้กับคนอื่นคนเรายิ่งอยู่สูง ยิ่งต้องมองต่ำ ส่วนคนที่อยู่ต่ำกว่า ต้องมองสูง และทั้งคู่จะมองเห็นความสวยงาม คุณค่า ของกันและกันอย่างไม่ยากเลยถ้ามัวแต่ดูถูกคนอื่น เพื่อให้ตัวเองดูดี แล้วเมื่อไหร่จะเห็นความสวยงามของผู้อื่น
19.เวลาที่หลงทาง…ลองหยุดอยู่กับที่แล้วนั่งนิ่งๆสักพักในบางอารมณ์ความเงียบจะสร้างความเหงา แต่บางสถานการณ์ความเงียบ จะทำให้เกิดสมาธิและความคิดที่ดีได้การคิดมากเกินไป ไม่ได้ก่อให้เกิดความคิดดีๆ เพราะมันจะยิ่งคิดวกวน จะหาทางออกไม่เจอความสงบในใจทำให้เกิดสติ สติที่ดีจะแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายทุกอย่างได้บางที... เรื่องที่เราคิดว่าใหญ่ จะเริ่มเห็นทางออกรำไร อยู่ตรงหน้านี่เอง
20.หัดไว้ใจผู้อื่น…ไม่มีอะไรสำเร็จลงได้ด้วยคนคนเดียวถ้าเมื่อไหร่ที่เรานั่งรถ แล้วเราไว้ใจคนขับ เราจะมองโลกได้กว้าง และดูความสวยงามข้างทางได้อย่างสุขใจ ทีมงานที่แข็งแรงและการเชื่อมั่นกันและกัน จะทำให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จถ้าไม่ให้โอกาสคนอื่น ไม่ปล่อยวาง ..มัวแต่นำทางให้คนอื่นเดินตาม เธอจะไม่มีเพื่อนร่วมเดินทาง ยามที่เธอเจออุปสรรคก็ต้องแก้คนเดียว ซ้ำซากอยู่ทุกวัน... ถ้าเธอไว้ใจเขา ยามเธอเหนื่อยล้า เธอจะนอนหลับได้เต็มตา โดยมีคนเหล่านั้นดูแลเธออย่างดี.
21.ความสำเร็จ…จะแลกเปลี่ยนกับความสนุกอยู่เสมอ
คนส่วนมากจะเริ่มต้นพร้อมๆกัน แต่ความสำเร็จที่ได้มาล้วนไม่เท่ากัน มีเพียงคนไม่กี่คนเท่านั้น ที่เดินไปได้ไกลกว่าคนอื่นยิ่งเริ่มต้นอายุน้อย เราก็จะมีแรงเหนื่อย มีแรงเจ็บ มีแรงเริ่มต้นใหม่ ความสมบูรณ์ในชีวิตก็จะมาถึงเร็วขึ้นคนที่ประสบความสำเร็จส่วนมาก ตลอดชีวิตของเขาไม่เคยสนุก ทุกนาทีคือการเรียนรู้ และ การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อยๆยอมแลกเปลี่ยน "ความสนุก" กับ "ความสำเร็จ" เถอะคุณค่าทั้งสองอย่างต่างกันเยอะเลย
22.ถามตัวเองบ่อยๆ ว่าเดินมาไกลแค่ไหน... และจะไปไหนต่อคนเราทุกคนต้องมีเป้าหมาย การกำหนดจุดมุ่งหมายจะช่วยให้เราเดินอย่างมีทิศทางมากขึ้น และทุกก้าวที่เดิน ชีวิตเราจะปลอดภัย และเดินอย่างมั่นใจไม่ว่าชีวิตจะยุ่งเหยิงแค่ไหน อย่าละเลยที่จะใส่ใจตัวเอง คอยถามไถ่ตัวเองสักนิดว่า ชีวิตเราตอนนี้แค่ไหนแล้ว ..แล้วเราจะเดินไปทางไหนต่อ แพลนชีวิต แพลนอนาคต เราก็ไม่ต้องมานั่นกลัวอนาคตเหมือนที่คนส่วนมากกำลังเป็นอยู่...
23. ลองแชร์ชีวิตกับคนอื่นบ่อยๆ… เราจะเป็นมิตรกับโลกนี้มากขึ้นถ้าอยากมีความสุขให้มองโลกในแง่ดีแล้วเราจะเอาแง่ดีที่ไหนมามอง ถ้าเรายังทำตัวเป็นอริกับโลกอยู่…วันนี้เราตามใจเขา พรุ่งนี้เพื่อนเราก็ตามใจเรา เป็นการแชร์ความรู้สึกการแชร์กับคนอื่นทางด้านความรู้สึก จะทำให้เรามองโลกเรียบง่าย มองเห็นความสุขได้ง่ายและรู้สึกอารมณ์ดี ปรับตัวเข้ากับใครๆ ได้ง่าย เธอจะเรียนรู้ว่าคนเราไม่จำเป็นต้องทำแต่สิ่งที่ชอบเท่านั้นถึงจะมีความสุขได้
24. ยอมถอยสักหนึ่งก้าว…เพื่อก้าวไปข้างหน้าได้สองก้าว
การยอมรับว่าตัวเองอ่อนแอ บางครั้งก็ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น เพราะสิงทีตามมาหลังจากอ่อนแออย่างถึงที่สุด จะเป็นการเริ่มต้นใหม่ที่ดีเสมอยอมถอยสักก้าว เพื่อมองหาทิศทางใหม่ที่ดีกว่า อย่าดันทุรังเดินไปทั้งที่ทางมันตันขอเวลาอ่อนแอสักครู่ แล้วฉันจะกลับมา มองหาที่สงบที่สุดสำหรับตัวเอง และเป็นที่ที่ไม่มีใครจะหาเราได้ เป็นที่ของเรา แล้วหลบไปอยู่ตรงนั้นสักพัก ให้เวลาตัวเองให้เต็มที่..เพราะเมื่อเธอรู้สึกแย่ๆที่ตรงนั้น...กลับดีที่สุด
25.ที่ปรึกษา…คือคนที่เขี่ยผงในตาคนอื่นคำแนะนำจากคนอื่น เป็นทางออกหนึ่งที่เขาเสนอให้พิจารณา คนที่จะรู้ว่ามันใช่ทางออกหรือเปล่า คือคนเดินไปต่างหาก…มองคำแนะนำให้เป็นแค่แนวทาง หรือทางเลือกที่เรามีส่วนตัดสินใจเองคัดเลือกคนที่แนะนำปัญหาดูสักนิด แล้วชีวิตเราจะไม่ผิดพลาดเพราะเชื่อคนอื่น
26. โอกาสเป็นของขวัญของผู้แสวงหา…แต่จงมองหาโอกาสในมือของเราเองความสามารถหรือพรสวรรค์จะไร้ค่า ถ้าไม่มีเวทีแสดง พรแสวงย่อมจะสำคัญกว่า พรสวรรค์ที่ถูกซ่อนในที่มืดบางคนมัวแต่ไปอิจฉาคนอื่น แล้วมองข้ามสิ่งดีๆ ของตัวเองอย่างน่าเสียดาย ..เพราะโอกาสมักจะมาพร้อมความเสี่ยง คนเราเลยกลัวสูญเสียถ้าโอกาสนั้นสร้างความล้มเหลว อย่างน้อยเราจะได้รู้ว่า จะหาโอกาสดีๆ นั้นใหม่ได้อย่างไร
27.รู้จักตัวตนของเพื่อน…แล้วอย่าลืมเปิดใจให้เพื่อนได้รู้จักเราด้วย
ความลึกลับทำให้น่าค้นหา ตื่นเต้นท้าทายก็จริง แต่ถ้าต้องค้นหาอยู่ตลอดเวลาบางครั้งก็กลายเป็นความเหนื่อยและเบื่อหน่ายการเข้าใจคนอื่น รู้จักคนอื่นเพียงฝ่ายเดียว จะทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยว ลองเติมเต็มความรู้สึกให้สมบูรณ์ ด้วยการเข้าใจคนอื่น ให้ใจคนอื่นและก็หาคนอื่นที่เข้าใจเรา ให้ใจเราด้วยเปิดใจต่อกันให้เห็นตัวตน เขาจะได้รู้จักนิสัยเรา และตัวเราก็ต้องรู้จักนิสัยเขาด้วย
“ เพียงมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเองเราจะกล้าเดินอย่างมั่นใจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั้งที่ได้ดั่งใจและไม่ได้ดั่งใจยอมรับทั้งด้านบวกและลบของโลกพร้อมหมุนตัวเองไปพร้อมกับโลกอย่างมีความสุข ”เมื่อมีความกล้า สิ่งที่ตามมาคือได้ก้าว ... เมื่อหัวใจเปิดรับ ความคิดจะเปิดกว้างเปิดโอกาสให้เรียนรู้อย่างแท้จริง สิ่งดีๆ ก็จะเข้าถึงใจเมื่อความกลัวหายไป…หัวใจจะเป็นสุขเราจะกล้าและได้ก้าว พร้อมเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ

6 แนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ควรมีสำหรับนักบริหาร

6 แนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ควรมีสำหรับนักบริหาร
โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)
หากคุณเป็นนักบริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน การเรียนรุ้ในเรื่องสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้างนั้น ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริง นักบริหารสมัยใหม่ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ควรจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะความคิดที่เป็นเลิศด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับนักบริหาร ก็คงหนีไม่พ้น ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อทำให้ตนเองเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรุ้ที่มี เพื่อคิดหาทางแก้ไขปัญหา และ หาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับองค์กรต่อไปแนวคิดเชิงกลยุทธ์ เริ่มจากแนวคิดที่นำมาใช้ในการศึกสงคราม และ ได้นำเข้ามาสู่วงการธุรกิจ ซึ่งจะเห็นว่า แนวคิดเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ มีมาตั้งแต่อดีต ก่อนสมัย ซุนวู หรือ สามก๊ก เสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ทางยุโรป และ อเมริกา ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และได้รวมรวมแนวคิดเชิงกลยุทธ์ไว้มากมาย หลากหลายรูปแบบ แต่ที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดได้หลากหลาย และเป็นรูปธรรม มีอยู่ 6 แนวคิดคือ
1. ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)ความคิดในมุมองขององค์รวม หรือ Holistic Thinking และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking) นี้ เป็นแนวความคิดเพื่อตอบโจทย์ในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างรอบคอบ หรือ หาแนวความคิดให้ครบ ให้ถ้วนถี่ เช่น การเดินหมากรุกแต่ละครั้ง ก็ต้องคิดไปถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อตว่าเขาจะเดินได้อย่างไรบ้าง และ เขากำลังต้องการทำอะไร หรือ แม้นแต่การศึกสงครามที่ใช้กลยุทธ์ในการวางแผนการรบ อย่างปรัชญาแบบตะวันออก ตำราพิชัยสงคราม (The Art of War) ของซุนวู เมื่อกว่า 2000 ปีมา ซึ่งได้นำมาใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะ การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนการทำสงคราม เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อเอาชนะคู่แข่งให้ได้
2. การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)"องค์กรที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่กำลังจะตาย" คำกล่าวนี้ทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงขององค์กรในเรื่องต่างๆ ทั้งในการทำงานหรือในเชิงธุรกิจ ต้องมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดหรือ หรือ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือ แม้นแต่การเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีแนวคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเชิงกลยุทธ์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking) ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต ทั้งนี้ การมีวิสัยทัศน์ (Vision Shift) ว่าเราต้องการที่จะอยู่ในตำแหน่งใดให้ถูกต้องเหมาะสม การดำเนินการจัดการ (management Shift) วางแผน กำหนดทิศทางขององค์กร (Direction Shift) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีศักยภาพทางด้านความคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับอนาคต (Corporate Culture Shift) ไปพร้อมๆกัน
3. การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)องค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization) เน้นหนักทางด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ทั้งนี้ มีผุ้บริหารน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจคำสองคำนี้ได้อย่างถ่องแท้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มาจากผู้บริหารที่ไม่มีองค์ความคิด (Visionary Thinking) ก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้บริหารที่จะมีวิสัยทัศน์ และ สามารถกำหนดพันธกิจ ได้เหมาะสม จึงต้องมีความสามารถทางด้าน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อองค์กร เพื่อกำหนดวิสัยทัศนื และ สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนดพันธกิจ ให้เหมาะสมเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
4. การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)นักบริหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือ นวัตกรรม ย่อมใส่ใจและให้ความสำคัญต่อ Strategic Innovation หรือ นวัตกรรมทางกลยุทธ์มากขึ้น ทั้งนี้ เพราะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพัฒนาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในมุมมองเดียวกัน หากองค์กรทั่วไป มองว่า การสร้างให้ผู้บริหารของตนนั้น มีมุมมองในเช้งบูรณาการ และ การคิดนอกกรอบ ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังเช่น องค์กรเก่าๆที่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ คอมพิวเตอร์ในสมัย 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่องค์กรที่ล้มหายตายจากไป ก็จะมีมุมว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟืย เสียเงินเปล่า เป็นต้น ทั้งนี้ การสร้างความคิดที่เรียกว่า Strategic Innovation Thinking จะเป็นการสร้างมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการพัฒนาเพื่อให้แตกต่าง (Creative Thinking& Innovation Thinking) รวมไปถึง การคิดแบบ Blue Ocean เพื่อหาหนทางในการตลาดแบบใหม่ๆ ที่ไม่แข่งขันกันมากเกินไป
5. การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน ธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ทั้งจาก สังคม เศรษฐกิจ คู่แข่ง รวมทั้งความต้องการของลูกค้า การวางแผนขององค์กรต่างๆ จึงต้องพึ่งนักบริหารที่มีมุมมองแนวคิดในเชิงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Future Thinking) และ จัดทำแผนทางเลือก (Scenario Planning) ที่หลากหลายเพื่อมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆกัน ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะความผันผวนของสภาพแวดล้อมปัจจุบัน การบริหารแผนงานต่างๆ จึงต้องเน้นการมองถึงอนาคตอยู่ตลอดเวลา (Future Thinking) และในเชิงการคิดเชิงกลยุทธ์นั้น ในการสร้างแผนทางเลือกต่างๆสำหรับอนาคต( Scenario Planning ) จึงเป็นรูปแบบแนวคิดเชิงกลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง ที่หลายๆ องค์กรชั้นนำได้หยิบเครื่องมือนี้มาใช้ประยุกต์ต่อ การสร้างแผนเพื่อตอบสนองกับ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ถึง- การคิดเชิงกลยุทธ์ในการมองอนาคต- การสร้างทางเลือกเชิงกลยุทธ์จากวิธี Scenario- เทคนิคการสร้างแผนกลยุทธ์ด้วยการสร้างภาพในอนาคต
6. Game TheoryGame Theory ของ John Nash เป็นวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง หลักการแนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่คำนึงถีง บุคคล ส่วนได้ ส่วนเสีย ผลกระทบอื่นๆ เพื่อมองให้เห็นถึงความเป็นจริง ในความต้องการ และ ความเป็นไป เช่น ความต้องการของลูกค้า การทำตัวเป็นลูกค้า ประเมินความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะหาจุดที่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นักบริหาร จำเป็นที่จะต้องสร้างให้มีขึ้นในแนวความคิดของตนเองทั้งสิ้น เพื่อใช้ทั้งในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ ทั้งตัวเอง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทราบว่า เราควรที่จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกลับเข้ามาทฤษฎีเกม แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือZero Sum Game - มุมมองของความคิด มีคนได้ ก็มีคนเสีย หรือ มากที่สุดก็เสมอกัน เช่น การเล่นฟุตบอล จะมีทีมใดทีมหนึ่งที่จะชนะ เมื่อมีคนชนะ ก็จะมีคนแพ้ และที่สำคัญ ไม่มีใครที่อยากเป็นคนพ่ายแพ้ ดังนั้น ทุกคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ เพื่อให้เป็นฝ่ายชนะ ความหมายในดิกชันนารี ให้ความหมายของ Zero-sum game ไว้ว่า หมายถึง สถานการณ์ที่สองฝ่ายแข่งขันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายก็จะสูญเสีย หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อเราเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายเสีย โดยสิ่งสำคัญคือจำนวน (เงินหรือผลประโยชน์) ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับนั้นจะเทียบเท่ากับจำนวนที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียไป (อาจจะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของคนอื่น) ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Last man standing gameนักบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ดี จะพยายามหลีกเลี่ยง Zero Sum Game เพราะอาจจะส่งผลเสียในอนาคต ยกเว้น เขาเชื่อมั่นว่าตนเองจะเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอน หรือ เขาไม่มีหนทางอื่นๆที่จะเลือกอีกแล้ว ถึงได้เข้าไปเล่นใน Zero Sum Game (Win - Lose)Negative Sum Game - หากมีเกมใดที่จะเข้าไปแล้วทำให้ผู้เล่นเสียผลประโยชน์ หรือ ใครก็ตามเข้ามาในเกมนี้ ก็จะเสียหาย ผู้เล่นที่เข้าเล่นในเกมส์นี้เหมือนคนบ้า ที่จะนำทั้งตัวเองและผู้เล่นอีกฝ่ายไปสู่การสูญเสีย ไม่มีใครได้ประโยชน์ ทุกคนเสียประโยชน์เท่ากัน เช่น การใช้สงครามราคา ที่ผู้ค้าแต่ละรายพยายามลดราคาลงให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อหวังให้ยอดการจำหน่ายสูงขึ้น จนผู้ค้าในตลาดทั้งหมดต้องลดราคาลงตาม สถานการณ์แบบนี้ มีแต่สูญเสีย แข่งขันกัน ซึ่งถ้ามองในมุมของผู้ขาย ก็จะพบว่า ต่างฝ่ายต่างขายตัดราคา เพื่อพยายามยึดครองลูกค้าให้มากที่สุด แต่ไม่ได้คำนึงถึงกำไร-ขาดทุน จนบางครั้งขายขาดทุนไปจำนวนมาก เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย และหากชนะ แต่ลูกค้าก็อยากที่จะได้ราคาถูกเช่นเดิม อาจจะหาคู่แข่งรายใหม่มาเป็นเพื่อนเล่นกับเราได้ ดังนั้น เกมที่เล่นแล้วมีแต่เสีย นักบริหารเชิงกลยุทธ์จะหลีกเลี่ยงเกมเหล่านี้ (Lose - Lose)Positive Sum Game - เป็นเกมที่ผู้เล่นทุกคนได้ผลประโยชน์ จะมากหรือน้อยก็ยังได้ผลประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยอมที่จะฮั้วกำลังการผลิตไม่ให้เกินโควต้าของแต่ละประเทศเพื่อควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก มากกว่าที่จะเร่งกำลังการผลิตของตัวเองให้มากที่สุด เพราะการกระทำเช่นนั้น แม้ว่าตนเองจะขายน้ำมันได้มากขึ้น แต่ประเทศอื่นก็จะทำตามและส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจจะลดลง ผู้ชนะในเกมส์คือประเทศที่มีน้ำมันเหลืออยู่เป็นประเทศสุดท้ายที่อาจจะกลายเป็นประเทศที่ขายน้ำมันเป็นเจ้าสุดท้ายของโลก ดังนั้นทุกประเทศที่ผลิตน้ำมันจึงรวมหัวกันกำหนดโควต้าเพื่อควบคุมราคาและยอมรับผลประโยชน์ที่แน่นอนแต่ไม่ได้มากที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นต้นนักบริหารเชิงกลยุทธ์ จะพยายามเล่นเกมนี้มากที่สุด เพื่อที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน แบบ Win-Win แต่ทั้งนี้ คนที่ฉลาดกว่า และ มองเห็นลู่ทางที่ดีกว่า ก็จะได้รับผลประโยชน์จากเกมนี้มากกว่าอยู่ดี

กาลครั้งหนึ่ง ..... นานมาแล้ว

"กาลครั้งหนึ่ง ..... นานมาแล้ว" มี .. อากง . .แก่ ๆ ... อยู่คนนึ่ง ...อยากจะสอนข้อคิดอะไรบางอย่างให้หลาน ๆ ... ตามประสาคนแก่
อากง ... จึงเรียกหลาน ๆ ทั้งสี่มานั่งล้อมโต๊ะสี่มุม.... แล้วบอกหลานทั้งสี่ว่าเอาล่ะหลาน ๆ .. ตอนนี้หลับตา .. นะ .. หลับตา ......... พอหลาน ๆ หลับตา ... อากง ... ก็เดินเข้าไปห้องเก็บของแล้วหยิบโคมไฟเก่า ๆ มาอันนึ่ง ...
อากง ... เปิดฝาครอบ ... จุดไฟ ... แล้วปิดฝาครอบ ......... แล้ว ... อากง ... ก็บอกหลานทั้งสี่ ... ว่า ...ลืมตาขึ้น .. แล้วบอก ... อากง ... ซิว่าโคมไฟสีอะไร...?
เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้น....ตอบไล่ ๆ กัน.... ตอบไม่เหมือนกัน...และเริ่ม...ทะเลาะกัน........ คนที่นั่งด้านนึ่งบอกว่า...สีแดง.... อีกด้านนึ่งบอกว่า ... เขียว ... สีเหลือง ... และน้ำเงิน .... ตามลำดับ ..........
ทั้งสี่ทะเลาะกันพักนึ่ง .... ก็มีเด็กคนนึ่งถาม ... อากง ... ว่า ........... อากง .... ทำไมของอย่างเดียวกัน...มีตั้งหลายสี ........อากง ... ก็เลยบอกว่า ... เดี๋ยวนะ ... อากง ... จะทำอะไรให้ดู ....
...... อากงเดินมาที่โต๊ะ ... หยิบฝาครอบแล้วหมุนให้ดู ... ปรากฎว่า .......... ฝาครอบสี่ด้าน .... สี่สี ... แดง ... เหลือง ... เขียว ... น้ำเงิน ......... หลังจากนั้น ... อากง ... ก็บอกว่า .... เอ๊า ตอนนี้บอกอากงซิ ...โคมไฟสีอะไร ...?...... หลาน ๆ .... ตอบเหมือนกันคือสีของเปลวไฟ .....
อากง .. เลยบอกว่า ... เอาล่ะหลาน ... อากง .. ถามอะไรชักสองข้อนะ ....ข้อที่ .. 1..... เมื่อสักครู่นี้ .... ครั้งแรก ... ใครผิด ......... หลานตอบว่า .... ไม่รู้ .....อากง ... บอกว่า .... รึว่า ... อากง .. ผิด ........
อากง ... เลยบอกอีกว่า ... ฟังนะ .. เจ้าทั้งสี่ .. นั่งอยู่ในที่เดียวกัน ......... มองของอย่างเดียวกัน ... ในเวลาเดียวกัน ... ยังเห็นไม่เหมือนกันเลย .....ทำไม .. ? .. ทำไมถึงไม่มีใครผิดล่ะ ....
อากง .. เลยบอกว่า... ก็เพราะคนทุกคนมองจากมุมมอง ... ของตัวเอง ... เห็นในสี่งที่ตัวเองเห็น.... แต่ .. ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นเห็น ... อย่างที่เขาเห็น ... เจ้าก็เดินไปมองที่มุมของเขา.... แล้วเราก็จะเห็นอย่างที่เขาเห็น ....แต่ถ้าลองนึกภาพนะ .... เจ้าทั้งสี่ ... นั่งอยู่ที่เดียวกัน... มองของอย่างเดียวกัน ... ในเวลาเดียวกัน... ยังเห็นไม่เหมือนกันเล๊ย ....
ในอนาคต ... .เวลาที่อยู่ในสังคม ... เป็นไปได้มั๊ย...คน .. ก็มองสี่งต่าง ๆ .... ไม่เหมือนกัน ......เพระฉะนั้น .... เวลาที่คนคิดไม่เหมือนเรา .... ใครผิด ...
ในอนาคตนะ ... เวลาที่เจ้าคิดไม่เหมือนคนอื่น .... อย่าไปโกรธว่าเขาผิด ... อย่าไปกลัวว่า ... ตัวเองผิด ....เพราะคนแต่ละคน ... ก็เห็นสี่งต่าง ๆ ... จากขอบข่ายประสบการณ์และสี่งแวดล้อมของตนเอง ....แต่ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่า ... ทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น .... เจ้าก็เดินไปมุมของเขา.... และเมื่อเจ้ายอมเข้าใจคนอื่น.... อาจเป็นไปได้ว่าคนอื่นก็อาจจะยอมที่จะเดินมา .... และเข้าใจเจ้า .....
คำถามที่ .. 2 ... อากง .. บอกว่า .... ที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลัง .... เป็นของอย่างเดียวกันมั้ย .. ? ....
..... หลานบอกว่า .... อย่างเดียวกัน .....แล้วเห็นเหมือนกันมั๊ย .... ? .... ครั้งแรกเห็นอะไร ... ?..... หลานตอบว่า ... ฝาครอบ .... และครั้งหลังเห็นเปลวไฟ ....
อากงเลยบอกว่า .... หลาน ๆ เอ๊ย ...ในอนาคตถ้าเลือกได้นะ ... อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ... เพียงแค่ที่เห็น ....แต่ ...... จงเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ... อย่างที่เป็น

ความโกรธ กับรอยตะปูบนรั้ว

มีเด็กน้อยคนหนึ่งที่สีหน้าแสดงอารมณ์ไม่ค่อยจะดีนัก
พ่อของเขาจึงให้ตะปูกับเขา 1 ถุง และบอกกับเขาว่า ”ทุกครั้งที่เขารู้สึกโมโห หรือโกรธใครสักคน ให้ตอกตะปู 1 ตัวเข้าไปกับรั้วที่หลังบ้าน”
วันแรกผ่านไป เด็กน้อยคนนั้นตอกตะปูเขาไปที่รั้วหลังบ้านถึง 37 ตัว และก็ค่อย ๆ ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ
ในแต่ละวันที่ผ่านไป ก็ลดจํานวนลง น้อยลง น้อยลง เพราะเขารู้สึกว่า การรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองให้สงบ ง่ายกว่าการตอกตะปูตั้งเยอะ
และแล้ว หลังจากที่เขาสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้นใจเย็นมากขึ้น เขาจึงเข้าไปพบกับพ่อ และบอกกับพ่อของเขาว่า เขาสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้แล้ว ไม่มุทะลุเหมือนแต่ก่อนที่เคยเป็นมา
พ่อยิ้ม และบอกกับลูกชายของเขาว่า ”ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเจ้าต้องพิสูจน์ให้พ่อรู้ โดยทุกๆ ครั้งที่เขาสามารถควบคุมอารมณ์ฉุนเฉียวของตนเองได้ ให้ถอนตะปูออกจากรั้วหลังบ้าน 1 ตัว ทุกครั้ง”
วันแล้ววันเล่า เด็กน้อยคนนั้นก็ค่อยๆ ถอนตะปูออก ทีละตัว จาก 1 เป็น 2 .... จาก 2 เป็น 3จนในที่สุดตะปูทั้งหมดก็ถูกถอนออก จนหมด
เด็กน้อยดีใจมากรีบวิ่งไปบอกกับพ่อเขาว่า “ฉันทำได้ ในที่สุดฉันก็ทำจนสำเร็จ !!”
พ่อไม่ได้พูดอะไร แต่จูงมือลูกของเขาออกไปที่รั้วหลังบ้าน และบอกกับลูกว่า
“ทำได้ดีมาก ลูกพ่อ และเจ้าลองมองกลับไปที่รั้วเหล่านั้นสิ เจ้าเห็นหรือไม่ว่า รั้วนั้นมันไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือน..กับที่มันเคยเป็น จำไว้นะลูก เมื่อใดก็ตามที่เจ้าทำอะไรลงไปโดยใช้อารมณ์ สิ่งนั้นมันจะเกิดเป็นรอยแผล เหมือนกับการเอามีดที่แหลมคมไปแทงใครสักคน ต่อให้ใช้คำพูด ว่า “ขอโทษ” สักกี่หน ก็ไม่อาจลบความเจ็บปวด ไม่อาจลบรอยแผลที่เกิดขึ้นกับเขาคนนั้นได้ ฉันใดก็ฉันนั้น “กับเพื่อน” .. เพื่อนเปรียบเสมือน อัญมณีอันมีค่าที่หายาก เป็นคนที่ทำให้เรายิ้ม เป็นคนที่คอยให้กำลังใจ และยินดีเมื่อเราพบกับความสำเร็จ เป็นคนที่คอยปลอบใจเราเมื่อยามเศร้า ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา และจริงใจกับเราเสมอ ... แสดงให้เขาเห็น ว่าเราห่วงใยเขามากแค่ไหน และระวังสิ่งที่เราทำไป ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ และจงจดจำไว้เสมอว่า " คำขอโทษ "ไม่ว่าเขาจะยกโทษให้เราหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่มันเกิดขึ้น คือ รอยร้าวที่เขาคงไม่อาจลืมมันได้ ...... ตลอดไป”

หวังว่านิทานนี้คงช่วยให้พวกเรา อยู่ร่วมกัน ทำงาน ร่วมกัน คบกัน ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกันขึ้นเรื่อยๆ ตลอดไป.....

ซื้อเวลา

หลังเลิกงาน ชายหนุ่มได้กลับเข้าบ้านล่าช้าเหมือนทุกวันที่ผ่านมา เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าและพบว่าลูกชายวัย 5 ขวบ รอคุณพ่ออยู่ที่หน้าประตู
ลูก . “พ่อครับ ผมมีคำถามถามพ่อข้อนึง”
พ่อ . “ว่ามาสิลูก, อะไรเหรอ”
ลูก . “พ่อทำงานได้เงินชั่วโมงละเท่าไหร่”
พ่อ . “ไม่ใช่กงการอะไรของลูกนี่, ทำไมถามอย่างนี้ล่ะ” พ่อตอบด้วยความโมโห
ลูก. “ผมอยากรู้จริงๆ โปรดบอกผมเถอะ พ่อทำงานได้เงินชั่วโมงละเท่าไหร่” ลูกพูดร้องขอ
พ่อ . “ถ้าจำเป็นจะต้องรู้ละก็ พ่อได้ชั่วโมงละ 200 บาท”
ลูก . “โอ..” ลูกอุทาน แล้วคอตก พูดกับพ่ออีกครั้ง “ พ่อครับ ผมอยากขอยืมเงิน 100 บาท ”
พ่อกล่าวด้วยอารมณ์ “นี่เป็นเหตุผลที่ลูกถามเพื่อจะขอเงินแล้วไปซื้อของเล่นโง่ๆ หรืออะไรที่ไม่เข้าท่าหรอกเหรอ รีบขึ้นไปนอนเลยนะ แล้วลองคิดดูว่าเล่ห์เหลี่ยม การกระทำแบบนี่น่ะไม่เข้าท่าแค่ไหน พ่อทำงานหนักหลายๆชั่วโมงทุกวัน และไม่มีเวลาสำหรับเรื่องไร้สาระอย่างนี้หรอก”
เด็กน้อยเงียบลง เดินไปที่ห้องแล้วปิดประตู
ชายหนุ่มนั่งลง และยังโกรธอยู่กับคำถามของลูกชาย เขากล้าที่จะถามคำถามนั้น เพื่อจะขอเงินได้อย่างไร หลังจากนั้นเกือบชั่วโมง อารมณ์ชายหนุ่มก็เริ่มสงบลง และเริ่มคิดถึงสิ่งที่ทำลงไปกับลูกชายตัวน้อย บางทีเขาอาจจำเป็นต้องใช้เงิน 100 บาทนั้นจริงๆ และลูกก็ไม่ได้ขอเงินเขาบ่อยนัก ชายหนุ่มจึงเดินขึ้นไปบนห้องแล้วเปิดประตู
พ่อ . “หลับหรือยังลูก”
ลูก . “ยังครับ”
พ่อ.“พ่อมาคิดดู เมื่อกี้พ่ออาจทำรุนแรง กับลูกเกินไป นานแล้วนะ ที่พ่อไม่ได้คลุกคลีกับลูก, เอ้า นี่เงิน 100 บาทที่ลูกขอ”
เด็กน้อยลุกขึ้นนั่ง “ขอบคุณครับพ่อ” ว่าแล้วก็ล้วงลงไปใต้หมอนหยิบเงินจำนวนหนึ่งออกมาแล้วนับช้าๆ
ชายหนุ่มเห็นดังนั้นก็โกรธขึ้นอีกครั้ง “ก็มีเงินแล้วนี่ แล้วมาขออีกทำไม”
ลูก “เพราะผมมีไม่พอครับ แต่ตอนนี้ผมมีครบแล้ว”
“พ่อครับ ตอนนี้ผมมีเงิน ครบ 200 บาทแล้ว ผมขอซื้อเวลาพ่อชั่วโมงนึง”
“พรุ่งนี้พ่อกลับบ้านเร็วๆ นะครับ ผมอยากกินข้าวเย็นกับพ่อ .....”
พ่อดึงลูกมากอดแล้วน้ำตาก็ไหลออกมา
เขาเล่นบทหนึ่งบทใดมากเกินไป จนลืมบทบาทที่สำคัญอื่นๆ ลืมที่จะให้เวลากับลูก กับคุณพ่อ กับคุณแม่ กับคนที่เขารัก ชีวิตของเราก็อาจขาดความสมดุล ขาดความสงบ และขาดความกลมกลืน และบางทีเมื่อเวลาผ่านไป
เราก็ไม่สามารถเรียกทุกอย่างให้หวนคืนกลับมา
เงินซื้อบ้านได้ แต่ซื้อความอบอุ่นในบ้านไม่ได้
เงินซื้อเตียงได้ แต่ซื้อการนอนหลับอย่างมีความสุขไม่ได้
เงินซื้อนาฬิกาได้ แต่ซื้อเวลาไม่ได้
เงินซื้อเลือดได้ แต่ซื้อชีวิตไม่ได้
เงินซื้อเซ็กซ์ได้ แต่ซื้อความรักไม่ได้
เงินซื้อตำแหน่งได้ แต่ซื้อความเคารพนับถือไม่ได้
เงินซื้อยาได้ แต่ซื้อสุขภาพที่แข็งแรงไม่ได้
เงินไม่ใช่ทุกสิ่ง และบ่อยครั้งก็เป็นสาเหตุของความเจ็บปวด และความปวดร้าวของชีวิต
เงินซื้อทุกอย่างไม่ได้ เงินซื้อเวลาที่เสียไปไม่ได้ .........................

การจัดทำกลยุทธ์ 2

ในองค์กรหรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ จะต้องมีการวางแนวทางให้ปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน จึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic plan) ขององค์กรให้พนักงานพึงปฏิบัติ โดยจะต้องระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดผลได้เป็นรูปธรรม ซึ่งการจัดทำกลยุทธ์ควรมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลยุทธศาสตร์หลักและผลลัพธ์ที่รัฐบาลต้องการ




การจัดทำกลยุทธ์ คือ การจัดทำแผนระยะยาว (log – range - plans) เพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานให้เหมาะสมกับโอกาส และปัญหาอุปสรรค ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร การจัดทำกลยุทธ์จะประกอบด้วย พันธกิจ (mission) วัตถุประสงค์ (objective) กลยุทธ์ (strategies) และนโยบาย (policy)
1. พันธกิจ (mission) คือ ความมุ่งหมายหรือเหตุผลที่องค์กรจัดตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นการบอกให้บุคคลภายนอกทราบว่า องค์กรต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการอย่างใด พันธกิจที่ดีจะบอกถึงเอกลักษณ์ที่เด่นแตกต่างจากองค์กรอื่น ในแง่ของประเภทและขอบเขตของการดำเนินงานขององค์กรจะดำเนินการธุรกิจและจะปฏิบัติต่อพนักงาน ในองค์กรอย่างไร โดยพันธกิจจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบอกให้ทราบว่าขณะนี้องค์กรดำเนินธุรกิจอะไร และต้องการให้เป็นอย่างไรในอนาคต
พันธกิจขององค์กรจะเป็นแรงจูงใจ ส่งเสริมสร้างความรู้สึกให้พนักงานทุกคนมีความคาดหวังร่วมกันและถ่ายทอดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้ทราบด้วย
2. วัตถุประสงค์ (objectives) คือ ความต้องขององค์กรที่สามารถตรวจวัดได้ เกี่ยวกับผลสำเร็จของแผนงาน / โครงการ เป็นตัวบ่งชี้ว่า องค์กรต้องการให้ประสบผลสำเร็จในเรื่องอะไร (what) และเมื่อใด (when) ซึ่งควรเขียนในเชิงปริมาณ (quantity) หรือตัวเลขที่ชัดเจนที่สามารถวัดไว้ และผลสำเร็จของวัตถุประสงค์ขององค์กรจะต้องสอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรด้วย
3. กลยุทธ์ (strategies) คือ แผนแม่บท (master plan) ที่องค์กรจัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้อย่างไร กลยุทธ์จะนำข้อได้เปรียบทางการแข่งขันมาใช้มากที่สุด และลดข้อเสียเปรียบทางการแข่งขันให้น้อยที่สุด กลยุทธ์โดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
3.1 กลยุทธ์ระดับบริษัท (corporate strategy) เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรจากผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรจากผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร
3.2 กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (business strategy) เป็นกลยุทธ์ที่อยู่ในระดับหน่วยธุรกิจหรือระดับผลิตภัณฑ์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบผู้บริหารระดับกลาง โดยมุ่งเน้นปรับปรุงฐานะการแข่งขันของสินค้า หรือบริการขององค์กร โดยใช้กลยุทธ์การแข่งขัน (competitive strategy) หรือกลยุทธ์ความร่วมมือ (cooperative strategy)
3.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (functional strategy) หรือ กลยุทธ์ปฏิบัติการ (operational strategy) เป็นกลยุทธ์ระดับแผนกหรือฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กร มีจุดเน้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติการด้านกิจกรรม และกระบวนการดำเนินงาน เพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและมีประโยชน์มากที่สุด
4. นโยบาย (policies) คือแนวทางกว้าง ๆ (broad guideline) ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำมาให้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ เพื่อให้การกำหนดกลยุทธ์ไปปฏิบัติเชื่อมโยงกัน ซึ่งองค์กรจะใช้นโยบายเป็นเครื่องมือชี้วัดว่าพนักงานปฏิบัติงานในแนวทางเดียวกับพันธกิจ (mission) วัตถุประสงค์ (objective) กลยุทธ์ (strategies) ขององค์กร ดังนั้น เพื่อให้องค์กรและพนักงานประสบผลสำเร็จในเป้าหมายเดียวกัน จึงต้องมีการวางกลยุทธ์ที่ดีและสามารถชี้แจงต่อพนักงานให้เข้าใจในเป้าหมาย แล้วองค์กรก็จะสามารถประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานได้

ยุทธศาสตร์ (กลยุทธ์) กับยุทธวิธี (กลวิธี)

ยุทธศาสตร์ (กลยุทธ์) กับยุทธวิธี (กลวิธี)

strategy กับ tactics

คำว่า ยุทธศาสตร์ บัญญัติมาจาก strategy มีความหมายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ยุทธวิธี ซึ่งบัญญัติมาจาก tactics คำคู่นี้จึงมักจะปรากฏในบริบทเดียวกัน (ในสหรัฐอเมริกามีนิตยสารชื่อว่า strategy & tactics ซึ่งมีบทความว่าด้วยสองเรื่องนี้โดยเฉพาะ) ในบริบทนี้ strategy จะใช้ในรูปเอกพจน์ ส่วน tactics จะใช้ในรูปพหูพจน์

นอกจาก ยุทธศาสตร์ กับ ยุทธวิธี ซึ่งใช้คู่กันมาแต่เดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการทหารแล้วอาจใช้คำว่า กลยุทธ์ แทน ยุทธศาสตร์ และใช้คำว่า กลวิธี แทน ยุทธวิธี ก็ได้ ทั้ง 4 คำนี้เป็นศัพท์รัฐศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน และยังมีใช้ในทางธุรกิจและในภาษาทั่วไปอีกด้วย

คำว่า strategy ในพจนานุกรมฝรั่งมักจะให้ความหมายหลักไว้ว่า “ศาสตร์และศิลป์แห่งการวางแผนและปฏิบัติการในสงคราม” ส่วน tactics หมายถึง “วิธีการจัดกระบวนทัพเพื่อให้ได้ชัยชนะในการสู้รบหรือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะหน้าเฉพาะอย่าง”

รากศัพท์ของ strategy อาจสาวย้อนไปถึงคำกรีก คือ strategos “แม่ทัพ” เพราะมาจากคำว่า stratos “กองทัพ” + agein “นำ” ส่วน tactics ก็มาจากคำกรีกเช่นกัน คือ tactikos “เกี่ยวกับการจัด” จากรากศัพท์ว่า tassein “จัด” (อันเป็นที่มาของความหมายว่า “การจัดกระบวนทัพ”) จึงเห็นได้ชัดว่าคำคู่นี้เริ่มใช้ในความหมายเกี่ยวกับการทหารก่อนที่จะนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ

พจนานุกรมบางฉบับอธิบายเพิ่มเติมว่า ในแง่การทหาร strategy คือการใช้ กำลังทหารทั้งมวลของชาติทั้งในยามสงบและในยามสงคราม โดยการวางแผนและพัฒนาขนานใหญ่ในระยะยาว เพื่อให้เกิดความมั่นคงหรือชัยชนะ ส่วน tactics คือการใช้และจัดวางกำลังทหารในการสู้รบจริง

ส่วนในภาษาอังกฤษทั่ว ๆ ไป คำว่า strategy จะมีที่ใช้มากกว่าคำว่า tactics และอาจใช้ในรูปพหูพจน์ก็ได้ เพื่อหมายถึง “วิธีการ” เช่น learning strategies “วิธีการเรียนรู้”

ความสัมพันธ์ระหว่าง strategy กับ tactics อาจสรุปได้ว่า ยุทธศาสตร์ (กลยุทธ์) หมายถึง แผนปฏิบัติการโดยรวมเพื่อให้มีชัยเหนือข้าศึกหรือคู่แข่ง เพื่อประสบผลสำเร็จในธุรกิจ หรือเพื่อบรรลุเป้าหมาย เช่นเพื่อความก้าวหน้าของหน่วยงาน ส่วน ยุทธวิธี (กลวิธี) หมายถึงวิธีการในระดับรายละเอียดที่นำมาใช้เพื่อดำเนินตามแผน ยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ที่วางไว้แล้ว

คำว่า แผนยุทธศาสตร์ (แผนกลยุทธ์) แปลมาจาก strategic plan ส่วนคำว่า การวางแผนยุทธศาสตร์ (การวางแผนกลยุทธ์) ก็แปลมาจาก strategic planning นอกจากนี้ เมื่อตรวจสอบในฐานข้อมูลภาษาอังกฤษ ก็พบคำว่า tactical planning ซึ่งแปล ได้ว่า “การวางแผนยุทธวิธี” (“การวางแผนกลวิธี”) หมายถึงการวางแผนระดับย่อยรองลงมาจากแผนยุทธศาสตร์ (แผนกลยุทธ์) อีกต่อหนึ่ง

อนึ่ง ในการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาหน่วยงาน มักเริ่มจากการทบทวนภาระหน้าที่ (mission) ของหน่วยงานนั้น กำหนดนโยบาย (policy) หรือทิศทาง (direction) ในการพัฒนาซึ่งจะต้องระบุวัตถุประสงค์ (objective) และมักจะมีการแถลงวิสัยทัศน์ (vision ศัพท์บัญญัติใช้ว่า วิทัศน์ แต่ไม่ติดตลาด) อันเป็นการมองไปในอนาคตว่า ประสงค์จะให้หน่วยงานนั้นมีสภาพเป็นเช่นไร จึงมักมีกรอบเวลากำกับไว้ด้วยว่า ภายในปีนั้น ๆ จะต้องบรรลุเป้าหมายอย่างนั้น ๆ

เมื่อได้วัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์แล้ว จึงจะกำหนดกลยุทธ์ (strategy) ซึ่งได้แก่วิธีการหลัก ๆ ที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ และจึงนำกลยุทธ์มาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการ (plan of action) หรือโครงการ (programme) ซึ่งมักจะต้องกำหนดเป้าหมาย (target) ที่ระบุตัวเลขแน่ชัด เพื่อสะดวกแก่การติดตาม (monitoring) และการประเมินผล (evaluation) การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการหรือโครงการในโอกาสต่อไป

ความหมายของกลยุทธ์

ความหมายของกลยุทธ์

คำว่ากลยุทธ์ (Strategy) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า "stratos" (กองทัพ) +"agein" (นำหน้า) หมายความถึง "การนำทางให้องค์กรโดยรวม" ซึ่งมีนัยครอบคลุมจุดมุ่งหมายและวิธีการว่าต้องการทำ "อะไร" ให้สำเร็จ และทำ "อย่างไร"

กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงาน ที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

กลยุทธ์ หมายถึง แผนของผู้บริหารระดับสูง ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ ภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร

กลยุทธ์ คือ ชุดของทางเลือกระยะยาว เกี่ยวกับเป้าประสงค์เชิงปฏิบัติการ และนโยบาย รวมทั้งแผนปฏิบัติการของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งองค์กรภาครัฐบาลกำหนด โดยคำนึงถึงวัตถุ ประสงค์ของแผนงานที่รัฐบาลกำหนดไว้ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน

กลยุทธ์ คือ ชุดของเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ สำหรับแต่ละระดับขององค์กรโดยเฉพาะ

กลยุทธ์ คือ ชุดของการปฏิบัติ ที่ทำให้องค์กรบรรลุผล

กลยุทธ์ คือ ตังปฏิบัติการ (operator) ที่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรจากสถานภาพ (Position) ปัจจุบันไปสู่สภาพที่พรรณนาไว้ตามเป้าประสงค์ ภายใต้ข้อจำกัดของความสามารถและศักยภาพ

กลยุทธ์ คือ แนวทางในการเปรียบเทียบจุดแข็งขององค์กรกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อคิดหาวิธีการที่ดีที่สุด ในการตอบสนองความต้องการผู้รับบริการ

กลยุทธ์ :ความหมาย

ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารกลยุทธ์ได้ให้คำนิยามไว้ดังต่อไปนี้

Alfred Chandler

"กลยุทธ์" เป็นการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในระยะยาวขององค์กร และการเลือกแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุ ประสงค์ที่ได้วางไว้

James B.Quinn

"กลยุทธ์เป็นแผนที่ประกอบไปด้วยเป้าหมายหลักขององค์การ นโยบายและการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรมุ่งสู่ภาพรวมทั้งหมดอย่างที่ต้องการ"

William F.Glueck

"กลยุทธ์เป็นแผนหลักขององค์การที่วางไว้เพื่อให้แน่ใจว่าจะเป็นแนวทางทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายหลักที่ต้องการได้"

Henry Mintzberg

"กลยุทธ์เป็นรูปแบบของการตัดสินใจต่าง ๆ หรือการดำเนินการ เพื่อให้องค์การบรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างที่ต้องการ"

Michael A. Hitt และคณะ

"กลยุทธ์" เป็น "ชุดของภาวะผูกพันและการดำเนินต่าง ๆ ที่ได้มีการประมวลและประสานเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถหลัก (Core Competencies) เพื่อให้ได้ข้อได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคนอื่น"

จะเห็นได้ว่าคำนิยามของคำว่า "กลยุทธ์" นี้มีขอบเขตที่แคบและกว้าง คือ

ในระดับแคบนั้นเน้นที่วิธีการ (Means) ที่สำคัญที่จะใช้เพื่อให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายหลักขององค์กร

ในระดับกว้าง จะให้ความหมายของคำว่า "กลยุทธ์" โดย พิจารณาครอบคลุมทั้งเป้าหมาย (Ends) และวิธีการ (Means) ที่จำทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

แต่เราจะพบว่าคนส่วนใหญ่มักใช้คำว่ากลยุทธ์ในฐานะของเครื่องมือ หรือวิธีการ