วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การให้ที่ยิ่งใหญ่

โดย : สุจินต์ จันทร์นวล เมื่อ : 8/05/2007 11:49 AM
จะมีผู้บริหารระดับสูงสักกี่คนที่จะใส่ใจกับ การค้นหา และ การสร้างลูกน้อง ใต้บังคับบัญชาที่มีอยู่อย่างเอาจริงเอาจัง ชนิดเข้าทำนองวาระแห่งชาติแบบนโยบายรัฐบาลบางเรื่องส่วนใหญ่ไม่มีเวลาพอที่จะมาใส่ใจกับเรื่องนี้ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับรองๆ ลงไปที่จะเสนอขึ้นมาให้อนุมัติในการที่จะสนับสนุนลูกน้องระดับล่างให้เจริญเติบโตขึ้นมาในสายงานโดยคิดว่าจากความคิดและหลักใหญ่ๆ ที่เคยพูดๆ ไว้กับผู้บริหารทุกระดับ ว่าน่าที่จะพิจารณาให้โอกาสลูกน้องคนเก่าที่ทำอยู่ ก่อนที่จะคิดถึงการรับเข้ามาใหม่จากภายนอกเมื่อมีตำแหน่งที่ว่างลง และเข้าใจว่าทุกอย่างมันคงจะเป็นไปตามที่เคยให้แนวทางไว้แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริหารรองๆ กับเหล่าลูกน้องของเขานั้น ทำงานใกล้ชิดกันมาจนเห็นข้อดีข้อเสีย เห็นศักยภาพและมีทั้งความรู้สึกที่ดี ที่เสีย หรือมีอคติต่อกันจนชาชินเสียแล้ว เข้าตำราใกล้เกลือกินด่าง8-9 สิบเปอร์เซ็นต์ของหัวหน้า มักจะมองว่าลูกน้องของตัวเองนั้นมีจุดอ่อนและมีความสามารถไม่ถึง ยังมือไม่ถึงที่จะขึ้นมาได้ เพราะหน้าที่ที่ทำอยู่มันฟ้องว่ายังทำไม่ได้ดีเท่าไร หรือเก่งและดีในเรื่องนี้ก็จริง แต่ตำแหน่งที่จะให้นั้นมันต้องมีคุณสมบัติและความสามารถด้านอื่นอีก ซึ่งไม่มีคงทำไม่ได้หรอก ขืนสนับสนุนให้ขึ้นมาแทนที่จะมาช่วยแบ่งเบางานกลับจะยิ่งทำให้หนักหนาขึ้น เพราะต้องเข้าไปช่วยประคับประคอง ก็มองข้ามไปเลย หาคนใหม่ดีกว่าน้อยนักจะมีความคิดว่าลูกน้องคนนี้น่าจะสร้างได้ คนนั้นน่าจะเอามาฝึกและสอนให้ดีขึ้นได้ น่าจะให้โอกาสเขาทดลองดู โดยจะเป็นคนหนุนหลังและสอนสั่งให้เก่งขึ้นมาให้ได้ ยอมที่จะแบก ยอมที่จะรับมาเป็นภาระ ยอมที่จะรับผิดชอบ ยอมที่จะเหนื่อยเพิ่มขึ้นน้อยนักที่จะมองอะไรลึกๆ ลงไปในตัวลูกน้อง หรือช่างสังเกตเก็บสิ่งเล็กๆ น้อยๆ จากคำพูด จากการแสดงออกในเหตุการณ์ต่างๆ ที่แต่ละคนเกี่ยวข้อง จากผลที่ออกมา จากการกินการอยู่ การเที่ยวเตร่ การใช้ชีวิตเพื่อที่จะเอามาอ่านสภาพนิสัยใจคอของลูกน้องคนนั้นๆ จนสามารถที่จะแยกแยะจุดอ่อนจุดแข็ง อ่านลึกลงไปถึงตัวตนและความสามารถที่ซ่อนอยู่ จนวิเคราะห์ได้ว่าคนคนนี้สอนได้ไหม สร้างได้ไหม หากหยิบยื่นโอกาสให้ ตลอดจนมีแผนในใจว่าจะสอนยังไง ฝึกยังไง สร้างยังไง ใช้เวลามากน้อยแค่ไหนจึงจะสำเร็จน้อยนักจะคิดว่างานที่ลูกน้องทำอยู่นั้นอาจจะดี อาจจะแค่พอใช้ มันอาจไม่ใช่งานที่ลูกน้องชอบและรักที่จะทำก็ได้ อาจไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วงานนั้นมันเหมาะหรือไม่เหมาะกับเขา เขาฝืนทำอยู่หรือเปล่า และน้อยนักจะแน่ใจถึงขนาดว่างานแบบไหนชนิดไหนจึงจะใช่ จึงจะเหมาะสมกว่าสำหรับตัวตนที่แท้จริงของลูกน้องคนนั้นๆส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอยากเสี่ยงให้เกิดปัญหาในฝ่ายที่ตัวเองรับผิดชอบ เกี่ยวกับเรื่องการยอมรับ การอิจฉาริษยาของเหล่าลูกน้องด้วยกันเองในส่วนนั้นๆ ในกรณีที่เกิดมีใครสักคนที่เคยทำงานในระดับเท่าๆ กัน แต่อยู่ดีๆ ก็ขึ้นมาใหญ่กว่า มาเป็นหัวหน้า เงินเดือนมากกว่า มีอำนาจมากกว่า คนที่ไม่ได้โอกาสนี้ก็อาจมองว่านายไม่ยุติธรรม นายลำเอียง เอาแต่คนใกล้ชิด คงชอบคนประจบประแจง หรือคิดอะไรรู้สึกอะไรไปในทางลบมากกว่าบวก เกิดความไม่พอใจอีกอย่างนายเองก็อาจไม่มีทักษะหรือความชอบในการที่จะมานั่งสอนคนนั้นคนนี้ แค่งานที่ทำสิ่งที่รับผิดชอบมันก็หนักหนาพอแล้ว จะมานั่งคอยเป็นพี่เลี้ยงเป็นครูสอนอีกก็คงไม่ไหว สู้หาใหม่แบบสำเร็จรูป มีประสบการณ์มาเรียบร้อย มาถึงก็ทำได้เลย ไม่ต้องมากลัวว่าลูกน้องคนอื่นๆ จะหาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ตัดปัญหาไปเสีย ถึงคนใหม่จะทำได้ดีหรือทำไม่ได้ดี มันก็อีกประเด็น ค่อยว่ากันใหม่ ยังไงๆ ก็ไม่ต้องรับผิดชอบมากนัก แค่ผิดหวังที่ได้คนที่ไม่เก่งพอมาก็เท่านั้นลูกน้องส่วนใหญ่จึงมักพบกับลิขิตที่ไม่มีทางเลือกในการทำงานที่นั่นได้แต่มีงานทำก็ทำไป ไม่มีใครมาใส่ใจว่างานที่ทำนั้นจะชอบหรือไม่ชอบ รักหรือไม่รักที่จะทำ เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่แค่ไหน อึดอัดหรือไม่เพียงใด ก้มหน้าก้มตาทำและปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนสายเกินไปไม่มีทางเลือกใดๆ ที่จะแสวงหาโอกาสให้ตนเอง เพราะอายุที่มากขึ้นๆ ตามเวลาที่ผ่านไป ทำให้โอกาสในการหางานใหม่มีน้อยลงบางคนทำงานมาจนอายุมากทั้งๆ ที่งานที่ทำนั้นไม่ได้รู้สึกชอบ รู้สึกรักที่จะทำมันเลย แต่ก็ต้องทนทำมันมาจนครึ่งค่อนชีวิต ไม่มีทางเลือก งานที่อยากทำและคิดว่าทำได้นายก็ไม่เคยมอง ไม่เคยหยิบยื่นโอกาสนั้นมาให้ความจริงแล้วหากผู้บริหารระดับสูงและระดับล่างหันกลับมามองในมุมนี้ เอาจริงเอาจังและถือว่ามันคือนโยบายหลักจริงๆ ในการบริหารว่าการสร้างลูกน้องคือหน้าที่ความรับผิดชอบหลักอีกอย่างหนึ่งของการเป็นผู้บริหาร ไม่ใช่เพียงแต่การทำตามเป้าหมายหรือนโยบายปกติเท่านั้นเพราะการที่สามารถสร้างลูกน้องขึ้นมาได้นั้น มันคือคุณสมบัติที่สำคัญมากๆ ของการบ่งบอกว่าผู้บริหารนั้นๆ เป็นผู้นำ เป็นผู้บริหารที่มีฝีมือหรือไม่ เพราะมันแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการอ่านคน อ่านสถานการณ์ บ่งบอกถึงความมีทักษะในการวาง แผน ตลอดจนกลยุทธ์ในการฝึกสอน ในการถ่ายทอดหรือการโน้มน้าวจิตใจคน มันทำให้เกิดความภักดีในองค์กรอย่างเห็นผลมากกว่าวิธีการใดๆ ทั้งหมด เพราะพนักงานจะเห็นเอง ประจักษ์เองว่าที่นั่นเขามีโอกาส มีอนาคตที่ดีขึ้นแน่หากเขามีความสามารถ มีคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ในตัวบางอย่าง ซึ่งเขาเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำมันทำให้เกิดวัฒนธรรมขององค์กรที่ดีและเป็นที่ยอมรับและยกย่องของทั้งภายนอกและภายใน มันทำให้การขยายการเติบโตขององค์กรเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่ติดปัญหาเรื่องไม่มีคนเก่ง ไม่มีคนมีฝีมือพอจะมารองรับงานที่ขยายขึ้น เพราะไม่สามารถที่จะสร้างคนขึ้นมาทดแทนได้มันเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะโอกาสและความก้าวหน้านั้นคือยอดปรารถนาของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกน้องทุกคน ไม่ใช่แค่เงินเดือนอย่างเดียวมันง่ายกว่าการหาคนใหม่เสียอีก เพราะยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาสักเท่าไร ไม่เหมือนลูกน้องที่มี ซึ่งรู้อะไรเกี่ยวกับตัวตนจริงๆ มากกว่า การสร้างลูกน้องขึ้นมาหักลบกับการเสี่ยงกับคนใหม่ว่าจะได้ของดีหรือไม่ดีมา ไม่ดีกว่าหรือขอเพียงแค่เสียเวลาสักนิด ให้ความจริงใจ ให้ความหวังดี พินิจพิเคราะห์ลูกน้องรอบข้างให้ละเอียด ลงไปใกล้ชิดกับพวกเขา ค้นหาอะไรดีๆ ในตัวเขาด้วยสายตาของเรา ดุลพินิจของเรา เราก็อาจพบเพชรได้ไม่ยาก ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนเห็นเป็นแค่กรวดหรือพลอยสละเวลาเทใจให้เขาสักหน่อย เป็นพี่เลี้ยงฝึกปรือและสอนสั่งเขา สร้างเขาขึ้นมาให้ได้ นั่นแหละถึงจะเรียก ว่านักบริหารที่แท้จริง เพราะทุกคนได้หมด

ไม่มีความคิดเห็น: