วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการอบ6

ในฐานะผู้ฝึกอบรม จำเป็นต้องรู้วิธีการใช้ และคัดเลือกเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบการประเมินผลการอบรม ในแต่ละระดับของการประเมินอาจใช้เครื่องมือในการประเมินผลที่หลากหลาย เครื่องมือแต่ละตัวจะมีจุดดี และข้อจำกัดในตัวเอง เครื่องมือชิ้นหนึ่งอาจช่วยชดเชยข้อจำกัด หรือส่งเสริมจุดดีของเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งก็เป็นไปได้ การใช้เครื่องมือหลายอย่างจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในการประเมิน และส่งผลที่แตกต่างที่อาจถูกมองข้ามไปจากการใช้เครื่องมือในการประเมินผลเพียงชิ้นเดียว


ในการประเมินผลการอบรมนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ 3 และ 4 ดูจะเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้จะดูง่ายขึ้นหากได้มีการออกแบบการประเมินผลไว้ตั้งแต่แรกเริ่มพัฒนาหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง

ก่อนที่จะคัดเลือกเครื่องมือในการวัดผล ควรพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

เครื่องมือนั้นสามารถให้คำตอบในการประเมินได้หรือไม่
เครื่องมือนั้นวัดผลได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการอบรมหรือไม่
มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ใช้ในทางปฏิบัติได้หรือไม่ (ทั้งในด้านของเวลา และเงินที่ต้องใช้)
แบบสอบถาม / สำรวจ (Questionnaire / Survey) ในระดับ 1, 2, 3)
ข้อควรพิจารณาในการใช้แบบสอบถาม

หลีกเลี่ยงคำถามทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกหัวข้อ ควรเป็นคำถามเฉพาะเจาะจงในการอบรมนั้นๆ
ถามเกี่ยวกับการอบรมบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
ทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน
ให้เวลาในการตอบมากพอ (ให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการอบรมไม่อยู่ในช่วงเร่งรีบ หรือเหนื่อยล้าเกินไป)
ถามเกี่ยวกับระดับความมั่นใจของผู้เข้ารับการอบรม (Confidence Level)

ควรมีช่องว่างให้เขียนข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
ไม่ต้องลงชื่อผู้ตอบแบบสอบถาม
ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องบ่งชี้ เช่น 1= ควรปรับปรุง ….. 5 = ดีมาก
การสัมภาษณ์ สำหรับการประเมินในระดับ 1, 2 และ 3

การสัมภาษณ์ พูดคุยอาจเป็นไปได้ทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์ที่กำหนดอย่างเป็นทางการนั้น จะรวบรวมรายการคำถามต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ส่วนการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ จะดำเนินไปโดยตั้งคำถามจากสิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมตอบจากคำถามก่อนหน้านี้
การสัมภาษณ์เป็นวิธีในการรวบรวมข้อมูลในเชิงลึก (In-Dept Information) จากผู้เข้ารับการอบรม แต่อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการค่อนข้างมาก และควรกระทำโดยผู้สัมภาษณ์ที่มีประสบการณ์สูง เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมอาจไม่พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลบางอย่างในการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์อาจกระทำเป็นกลุ่มเล็ก ประมาณ 5 – 12 คนก็ได้ (Focus Group)

แบบทดสอบ สำหรับการประเมินในระดับ 2 และ 3
แบบทดสอบถือเป็นวิธีมาตรฐานอย่างหนึ่งในการวัดความรู้ (ชุดข้อสอบ) และทักษะ (ทดสอบการปฏิบัติงาน) ทั้งนี้แบบทดสอบทั้ง ก่อน และหลังการอบรมอาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับแบบทดสอบ

ร่างคำถามตัวอย่างในระหว่างพัฒนาหลักสูตร หรือเนื้อหาที่จะใช้ในการอบรม ให้แน่ใจว่าคำถามต่างๆ ที่จะใช้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการอบรม ทบทวน ตรวจทานแบบทดสอบก่อนใช้จริง
วางแผนเกี่ยวกับรายละเอียดของแบบทดสอบ เช่น ระยะเวลา การให้คะแนน
หลีกเลี่ยงคำถามที่อาจมีคำตอบที่ถูกต้องมากกว่าหนึ่ง เขียนคำถามให้ชัดเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ให้การจัดรูปแบบคำตอบแบบสุ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงการเดาคำตอบ
ใช้คำถามที่มีระดับความยากแตกต่างกันออกไป
การสังเกต (Observations) สำหรับการประเมินในระดับ 2 และ 3
พฤติกรรมสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะถูกสังเกตทั้งก่อน ในระหว่าง และหลังการฝึกอบรม ผู้สังเกตจะเฝ้าดู และบันทึกพฤติกรรมไว้ บางครั้งอาจบันทึกวีดีโอ เพื่อตรวจดูภายหลังก็ได้ วิธีการนี้จะให้การประเมินพฤติกรรมทั้งที่แสดงออกโดยคำพูด หรือท่าทางอื่นๆ ได้

ข้อจำกัดของการสังเกตนี้ได้แก่ พฤติกรรมที่ถูกปรุงแต่งของผู้เข้ารับการอบรมอันเป็นผลมาจากการที่มีผู้คอยสังเกต หรือการเก็บข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือของผู้ทำการสังเกตเอง ข้อจำกัดเหล่านี้อาจลดลงได้โดยการคัดเลือกผู้ทำการสังเกต การใช้แบบฟอร์มมาตรฐานในการกรอกข้อมูล และพยายามลดการแสดงตัวให้ผู้เรียนเห็น ให้น้อยลง


รายงานผลการปฏิบัติงาน (Performance Records) สำหรับการประเมินในระดับ 4
รายงานผลการปฏิบัติงาน สามารถนำมาใช้ในการประเมินผลการอบรมเกี่ยวกับ ผลกระทบที่มีต่อบรรทัดสุดท้ายของธุรกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รายได้ เวลาที่ใช้ในงาน ผลผลิต ฯลฯ ทั้งก่อนการอบรม และหลังเสร็จสิ้นการอบรมจะให้ภาพสะท้อนเกี่ยวกับผลของการฝึกอบรม


ตารางสรุปเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการฝึกอบรม
(Summary of Evaluation Instruments)


เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการประเมินผลได้ ตารางข้างล่างนี้จะให้แนวทางเกี่ยวกับเครื่องมือ หรือแหล่งข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินผลในระดับต่างๆ


ระดับ
เครื่องมือ / แหล่งข้อมูล

ระดับ 1
การตอบสนอง
แบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์

ระดับ 2
การเรียนรู้
แบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกต แบบทดสอบข้อเขียน / การฝึกปฏิบัติ

ระดับ 3
พฤติกรรม
แบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกต

ระดับ 4
ผลลัพธ์
บันทึกผลการปฏิบัติงาน (Performance Records)

ไม่มีความคิดเห็น: